Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการของการสื่อสารแกนนําของกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติผ่านเฟซบุ๊กในประเด็นการแสดงเจตนาไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2559 ผ่านกรอบแนวคิดและทฤษฎี S M C R ของเบอร์โลว์ (Berlo) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และวิธีวิจัยเอกสาร (Document research) นําเสนอ ผลงานวิจัยโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นการปฏิเสธไม่รับร่างรัฐธรรมนูญณัฐวุฒิ ใสยเกื้อมีการ Post ในประเด็นดังกล่าวมากที่สุด มีจํานวนการโพสต์ 31 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 39.24 ประเด็นความไม่น่าเชื่อถือของประชามติณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มีการ Post ในประเด็นนี้มากที่สุด มีจํานวน 47 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 47.47 ประเด็นการไม่เห็นด้วยกับมาตรา 44 ธิดา ฐาวรเศรษฐ์ มีการ Post มากที่สุดจํานวน 16 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 29.62 ประเด็นการไม่เห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีคนนอก นายจตุพร พรหมพันธ์ มีการ Post มากที่สุด 27 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 37.5 ประเด็นการบิดเบือนประชาธิปไตยจตุพร พรหมพันธ์ มีการ Post มากที่สุด 28 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 70.0 ประเด็น รัฐธรรมนูญจํากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน ธิดา ฐาวรเศรษฐ์ มีการ Post มากที่สุดจํานวน 24 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 40.67