dc.contributor.advisor |
สุชาดา รัตนวาณิชย์พันธ์ |
|
dc.contributor.author |
สาวิตรี อานมณี |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:46Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:46Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7535 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการไม่ปฏิบัติหลักการความร่วมมือการสนทนาผ่านภาพยนตร์เรื่องสั้นสิงคโปร์ จำนวนทั้งหมด 6 เรื่อง โดยแบ่งประเภทของการละเมิดออกเป็นสองประเภท และอีกสี่ด้าน คือ การละเมิดหลัก (Violating the maxim) และการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) โดยการละเมิดหลักทั้ง 2 ประเภทประกอบด้วย หลักด้านคุณภาพ หลักด้านปริมาณ หลักด้านความสัมพันธ์ และหลักด้านวิธีการข้อมูลที่ศึกษาเป็นบทสนทนาภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์เรื่องสั้น สิงคโปร์ จำนวน 6 เรื่อง 78 บทสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ความถี่ และค่าร้อยละ รวมทั้งการอธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิจัยพบการไม่ปฏิบัติตามหลักการความร่วมมือการสนทนาของตัวละครทั้งสองประเภทได้แก่ การละเมิดหลัก และการละเมิดหลักแบบมีนัย 2. ประเภทของการละเมิดหลัก (Violating the maxim) ของตัวละครที่พบมากที่สุดได้แก่ การละเมิดหลักด้านความสัมพันธ์ (Maxim of relation) คิดเป็นร้อยละ 66.67 รองลงมาได้แก่ การละเมิดหลักด้านคุณภาพ (Maxim of quality) คิดเป็นร้อยละ 22.22 และการละเมิดหลักด้านวิธีการ (Maxim of manner) คิดเป็นร้อยละ 11.11 ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่พบการละเมิดหลักด้านปริมาณ (Maxim of quantity) 3. ประเภทของการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) ที่พบมากที่สุดได้แก่ การละเมิดหลักแบบมีนัยด้านคุณภาพ (Maxim of quality) คิดเป็นร้อยละ57.97 รองลงมาพบการละเมิดแบบมีนัยในด้านปริมาณ (Maxim of quantity) คิดเป็นร้อยละ 24.64 และการละเมิดแบบมีนัยด้านความสัมพันธ์ (Maxim of relation) คิดเป็นร้อยละ 15.94 สุดท้ายคือการละเมิดหลักแบบมีนัยด้านวิธีการ (Maxim of manner) คิดเป็นร้อยละ 1.45 ผลการวิจัยดังกล่าว สรุปได้ว่าการละเมิดหลัก และการละเมิด หลักแบบมีนัยขึ้นอยู่กับความตั้งใจอุปนิสัยและลักษณะของผู้พูดเป็นสำคัญ 4. เมื่อเปรียบเทียบประเภทของการละเมิดหลัก (Violating the maxim) และการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) พบว่า มีการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) มากกว่าการละเมิดหลัก (Violating the maxim) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ภาษาอังกฤษ -- บทสนทนาและวลี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร |
|
dc.subject |
ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา |
|
dc.title |
การวิเคราะห์การไม่ปฏิบัติตามหลักความร่วมมือการสนทนาภาษาอังกฤษผ่านภาพยนต์เรื่องสั้นสิงคโปร์ |
|
dc.title.alternative |
An nlysis of mxim violtion in English converstions through Singporen short films |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose ofthe study was to validate a principle of conversation,the “Cooperative Principle” proposed by British linguist H.P. Grice, especially in terms of violating the maxim and flouting the maxim which are the basic aspects of implicit meanings. The main objective of this study was to determine what typesof conversational maxims were violated and flouted by different characters in English conversations. The data were analyzed based on the transcription of English conversations in six selected Singapore films. The descriptive analyses, together with the statistical test, including frequency and percentage, were used to analyze the collected data. The results of the study were as follows: 1. It was shown that both violation of the maxims and flouting of the maxims were found in the English conversations in six selected Singaporean films. 2. Regarding the violation of the maxims, it was found that the maxim of relation was violated the most (66.67%), followed by the maxim of quantity (22.22 %), and the maxim of manner (11.11 %), respectively. However, no violation of the maxim of quantity was found. 3. With reference to flouting of the maxims, the result of the study showed that the maxim of quantity was flouted most often (57.97 %), followed by the maxim of quality (24.64 %), the maxim of relating ( 24.64 %) , and the maxim of manner (1.14 %), respectively. These results suggest that the violation of maxims and the use of flouts have to do mainly with the intention and different personalities of the speakers. 4. Compared to the violation of the maxim, flouting of the maxim was found at a higher percentage. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|