Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีในการปฏิเสธในการสื่อสารภาษาอังกฤษในที่ทำงานในวัจนกรรมการขอร้องการเชิญ การเสนอให้และการแนะนำมุ่งเน้นศึกษาตัวแปรด้านสถานภาพตำแหน่งงานในที่ทำงานประกอบไปด้วยสถานภาพตำ แหน่งงานสูงกว่าเท่ากัน และต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วยชาวพม่าที่ทำงานและอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาจำนวน 15 คน และชาวอเมริกันที่ทำงานและอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ Discourse Completion Test (DCT) ปรับปรุงจากเครื่องมือในงานวิจัยของ Beebe, Takahashi and Uliss-Weltz (1990) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาและกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันใช้ในการตอบปฏิเสธมากที่สุด คือ กลวิธีการปฏิเสธแบบอ้อม และกลวิธีย่อยแบบอ้อมที่กลุ่มตัวอย่างใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กลวิธีการตอบปฏิเสธโดยอธิบายถึงเหตุผล กลวิธีการตอบปฏิเสธโดยแสดงความรู้สึกซาบซึ้งในคำพูดของคู่สนทนาและกลวิธีในการตอบปฏิเสธโดยแสดงความเสียใจ 2. เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านวัจนกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาใช้กลวธีในการตอบปฏิเสธแบบอ้อมมากว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันทุกวัจนกรรม ส่วนกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันใช้กลวิธีการปฏิเสธแบบตรงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาในทุกวัจนกรรม 3. เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านสถานภาพตำแหน่งงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ชาวอเมริกันใช้กลวิธีในการตอบปฏิเสธแบบตรงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวพม่าในทุกสถานภาพตำแหน่งงาน ส่วน กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาใช้กลวิธีการปฏิเสธแบบอ้อมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในทุกสถานภาพตำแหน่งงาน