Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องกรรมและการแก้กรรมในพระพุทธปรัชญาเถรวาท และ 2. เพื่อวิพากษ์แนวคิดเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทยการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสืบค้นข้อมูลจากคัมภีร์สำคัญทางพุทธปรัชญา ได้แก่ พระไตรปิฎกคัมภีร์อรรถกถา รวมถึงหนังสือวารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “กรรม” ในพุทธปรัชญา หมายถึง การกระทำที่เกิดจากเจตนา แล้วแสดงออกทางกายหรือทางวาจาจะเป็นการกระทำที่ดีหรือชั่วก็ได้เป็นเหตุให้เราจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตราบเท่าที่ยังไม่ “สิ้นกรรม” หรือ “ดับกรรม” ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 จนสิ้นกิเลส แต่ความเข้าใจเรื่องกรรมของคนไทยนั้นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากหลักคำสอนเรื่องกรรมในพุทธปรัชญาโดยมองว่า “กรรม” น้ันเป็นผลของการกระทำที่ไม่ดีของเราในอดีตชาติที่ส่งผลให้ชีวิตในปัจจุบันต้องประสบกับทุกข์เหตุเภทภัยต่าง ๆ ด้วยทัศนะคติ เช่นนี้ทำให้เกิดความคิดที่ว่า “เราเกิดมาเพื่อใช้กรรม” จึงพยายามหาวิธีแก้ผลของกรรมชั่ว เช่น การทำบุญด้วยการบริจาคทานการร่วมงานบุญเข้าวัดถือศีลปฏิบัติธรรมบูชาเทพเจ้าองค์ต่าง สวดมนต์คาถาแล้วอุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเป็ นต้น หากพิจารณารูปแบบวิธีการแก้กรรมในสังคมไทยตามกรอบของมรรคองค์มีองค์ 8 การที่ผู้ร่วมพิธีแก้กรรมมีทิฏฐิเกี่ยวกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตว่ามาจากกรรมเก่าหรือเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งเป็น “ผี” จึงเกิดความเชื่อที่ว่า “คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรม”ไม่สามารถหนีผลจากกรรมได้จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้จึงต้องแก้ด้วยการรับคำแนะนำ จากผู้ทำพิธีแก้กรรม รวมถึงเกิดความคิดที่ว่าการขัดเกลากิเลสของตนเองจนถึงขั้นบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล หรือนิพพานนั้นเกินความสามารถของตนเอง มุ่งหวังเพียงให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในปัจจุบันและเมื่อเกิดชาติต่อไป การให้ทาน ถือศีลและการปฏิบัติธรรม จึงเป็นไปเพื่อเพิ่มบุญไม่ใช่การขัดเกลากิเลสอย่างที่ควรจะเป็น รวมทั้งการบูชาเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ สวดมนต์ คาถา ยังเป็นวิธีการที่ไม่มีสอนในพุทธปรัชญา การแก้กรรมจึงเป็นอาชีพที่ขัดต่อหลักการทางพุทธปรัชญา เพราะทำให้ผู้ร่วมพิธีเกิดความหลงความหมกมุ่น และความงมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่อันควร หรือกระทำสิ่งใดที่สอดคล้องกับหลักของเหตุผลเป็นเหตุให้หลักธรรมคำสอนเสื่อมลง