Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการจัดการศึกษาของรัฐไทยในมณฑลปัตตานีตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-พ.ศ. 2453) ถึง พ.ศ. 2510 โดย ในปีพ.ศ. 2435 เป็นปีที่รัฐไทยปฏิรูปการปกครองโดยจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเพื่อรับคำสั่งนโยบายโดยตรงจากกรุงเทพ โดยหลงจากนั้นมีการวางนโยบายจดการการศึกษาในมณฑลปัตตานี โดยศึกษาวาทกรรมีนโยบายการศึกษาของรัฐไทยที่มีต่อชาวมลายูในมณฑลปัตตานี จากการวิเคราะห์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดวาทกรรม คือการเกิดขึ้นของนโยบายต่าง ๆ ด้านการศึกษาที่รัฐไทยส่งไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นชุดคำสั่งที่ส่งผลทางความคิดและการปฏิบัติ เพื่อให้คนในพื้นที่ยอมรับและปฏิบัติตาม โดยเฉพาะชาวมลายูมุสลิมที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ก็มีทั้งยอมรับต่อต้านในนโยบายที่รัฐไทยพยายามดำเนินการในพื้นที่นอกจากนี้พบว่า รัฐบาลไทยในแต่ละชุดมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันบางช่วงใช้การบังคับ ทำให้เกิดการต่อสู้ทางความคิดมากมายวาทกรรมทางศึกษาของรัฐไทยก็โดนต่อต้านในบางช่วงเวลากเป็นไปตามแนวคิดที่มิเชล ฟูโกต์ที่ว่าอำนาจและวาทกรรมการต่อสู้ตลอดเวลา ไม่มีอำนาจใดที่ถาวร จากการวิเคราะห์สรุปว่า ผลกระทบของวาทกรรมทางการศึกษาที่รัฐไทยส่งลงไปทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวมลายูมุสลิมเป็นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดการต่อต้านจากคนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวมลายูมุสลิมหลายขบวนการในพื้นที่