Abstract:
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์การแปร รูปอาหารสุขภาพจากข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์การแปรรูปอาหารอาหารสุขภาพและการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ อาหารสุขภาพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงชั้นปีที่ 2 จํานวน 523 คน ครูผู้สอนสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จํานวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและ มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบเชิงยืนยันความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหาร ด้วย 1. คิดริเริ่ม 2.คิดคล่อง 3.คิดยืดหยุ่น 4.คิดละเอียดลออ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ยืนยัน ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 887.961; p=.000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 731 ค่า / df 2 = 1.215 ค่า CFI เท่ากับ .986ค่า GFI เท่ากับ .921 ค่า AGFI เท่ากับ .900 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.021 2. กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหารสุขภาพ คือ ได้แก่ การดู ภาพอาหารการชมการแข่งขัน การแปรรูปอาหารและการทัศนศึกษาร้านอาหารสุขภาพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม กิจกรรมการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสุขภาพมาให้ความรู้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตและฝึกปฏิบัติเป็น กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องและความคิดหยืดหยุ่น กิจกรรมการฝึก การกำหนดรายการอาหารเพื่อสุขภาพ กิจกรรมการปฏิบัติการการทําผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และนําเสนอภายในชั้นเรียน กิจกรรมการเข้าร่วมการแข่งขันการแปรรูปอาหาร การจัดแสดง ผลงานในการนําเสนองานจากการเรียนวิชาโครงงานวิชาชีพเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออ 3. ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปี 2 พบว่า กลุ่มกลุ่มที่ใช้กิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น ร้อยละ 92.48 ขณะที่กลุ่มไม่ใช้กิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น ร้อยละ 72.19