Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 6 ในภาคตะวันออกกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อพัฬยสรูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกโดยบูรณาการโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกจำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์และแบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพดังนี้ ค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.20-0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25-0.75 ค่าความเที่ยงตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพดังนี้ ค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.374-0.731 และความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Conbach’s alphacoefficient) เท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปรได้แก่ เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์บุคลิกภาพของผู้เรียนพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูบรรยากาศชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติได้แก่ 2 = 246.663, df=160,p= 0.000, 2 / df=0.542, GFI=0.944, AGFI =0.927, CFI=1.000, SMR = 0.135, RMSEA =0.036 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์=0.49 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการคิดวิเคราะห์ได้ร้อยละ 49 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ พฤติกรรมการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูเจตคติต่อการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และตามลำดับ รูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออก โดยบูรณาการในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 3) ขั้นสร้างความรู้ใหม่และ 4 ขั้นประยุกต์ใช้