DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกโดยบูรณาการในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.author พรทิพย์ ตรีสกุลวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:04Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:04Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7488
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 6 ในภาคตะวันออกกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อพัฬยสรูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกโดยบูรณาการโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกจำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์และแบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพดังนี้ ค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.20-0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25-0.75 ค่าความเที่ยงตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพดังนี้ ค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.374-0.731 และความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Conbach’s alphacoefficient) เท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปรได้แก่ เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์บุคลิกภาพของผู้เรียนพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูบรรยากาศชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติได้แก่  2 = 246.663, df=160,p= 0.000,  2 / df=0.542, GFI=0.944, AGFI =0.927, CFI=1.000, SMR = 0.135, RMSEA =0.036 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์=0.49 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการคิดวิเคราะห์ได้ร้อยละ 49 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ พฤติกรรมการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูเจตคติต่อการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และตามลำดับ รูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออก โดยบูรณาการในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 3) ขั้นสร้างความรู้ใหม่และ 4 ขั้นประยุกต์ใช้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียนประถมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject ความคิดและการคิด -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject ทักษะทางการคิด
dc.title การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกโดยบูรณาการในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
dc.title.alternative The development of model to enhnce nlyticl thinking integrting the “moderte clss more knowledge” ctivities for prthomsuks 6 students in the Estern
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the causal factors that affect the analytical thinking of students in Prathomsuksa 6 in the context of the Eastern, to develop and verify the models explaining the causal relationship with the empirical data that affects the analytical thinking of students in Prathomsuksa 6 in the Eastern, and to promote the synthetic form of analytical thinking of grade 6 students in the context of the Eastern by the integrated the model of causal relationship to increased activity in “moderate class more knowledge”. The sample group in this research was 412 Prathomsuksa 6 students, studying in the schools under the Office of Basic Education of Eastern. The tools used in this research consist of the test of critical thinking and the questionnaire of the causal factors that affect the analytical thinking of Prathomsuksa 6 students. Data was analysed by the use of software packages analyzing basic statistics and using the advanced statistical software to analyzed and develop the causal relationship model. The results indicated that the causal relationship model affecting the analytical thinking of Prathomsuksa 6 students consists of 6 latent variables including attitude toward learning, motivation for the participation of parents, behavior to promote critical thinking of teachers, the atmosphere in the classroom and personality of the students which consists of the empirical data in good criteria by considering the  2 = 246.663, df =160, p= 0.000,  2 / df =0.542, GFI =0.944, AGFI =0.927, CFI=1.000, SMR = 0.135, RMSEA =0.036 and the coefficient of determination = 0.49. It can be seen that all variables in the model can explained the variance of the variables of 49 percent. Variables that statistically significantly influence the analytical thinking of Prathomsuksa 6 students include behavior to promote critical thinking of teachers, attitude toward the study, achievement motivation personality of students, the atmosphere in the class and the participation of parents, respectively. The development instructional of the model according to the causal relationship of factors affecting the analytical thinking of Prathomsuksa 6 students in the Eastern consisted of 4 steps as; 1) Steps to stimulus, 2) Steps to experiential learning, 3) Steps to create knowledge plan, 4) Steps to application.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account