Abstract:
แม่พิมพ์ยางเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำในการผลิตยาง ซึ่งในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของยางแต่ละเส้น มักไม่นำแม่พิมพ์ยางมาใช้ในการคำนวณ และการเติบโตด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการผลิตแม่พิมพ์ยางเพิ่มมากขึ้น ผู้ผลิตยางมักสั่งซื้อแม่พิมพ์ยางโดยใช้ความเคยชินจากการสั่งซื้อในอดีต และไม่ได้พิจารณาถึงคาร์บอนฟุตพริ้นท์ซึ่งเป็นปัจจัย ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้จึงประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CFP) ของแม่พิมพ์ลายดอกยาง 1 ชุดของแม่พิมพ์ 2 ชนิด ที่สามารถผลิตยางรูปแบบเดียวกัน ได้แก่ แบบพลาสเตอร์ชิ้นใหญ่ (sector) และแบบพลาสเตอร์ชิ้นเล็ก (element) โดยใช้วิธีวิเคราะห์ระบบพลังงาน (TES) ISO 13602-1 เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแม่พิมพ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนถึงการขาย ผลิตภัณฑ์หรือแบบ B2B ดำเนินการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) ตาม ISO 14044 และประเมิน CFP ด้วย ISO/DIS 14067.2 การเก็บข้อมูลใช้การเก็บข้อมูลแบบผสมทั้งการเก็บข้อมูลทางตรง (PCA) และการใช้ข้อมูลอ้างอิง (IOA) แบ่งข้อมูลการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHG) เป็นข้อมูลการปลดปล่อยจากวัตถุดิบพลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิต การขนส่งและเครื่องจักรอุปกรณ์ผลการประเมินพบว่า CFP ของแม่พิมพพ์แบบ sector เป็น 3,851 kgCO2e และแบบ element เป็น 6,115 kgCO2e โดยปัจจัยหลักที่ทำให้แบบ element มี CFP มากกว่า คือ วัตถุดิบอลูมิเนียม ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปเป็นปัจจัยหนึ่งในการสั่งซื้อแม่พิมพ์ของผู้ผลิตยาง รวมถึงการปรับปรุง กระบวนการเพื่อลด CFP ได้