Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 4) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงอุปนัย (Inductive analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ คือ จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นแต่จำนวนห้องเท่าเดิมทําให้นักเรียนแน่นห้องเรียนซึ่งไม่เอื้อกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูทุกคนมีภาระงานหลักที่ต้องรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรมชุมนุม และภาระงานสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานของโรงเรียน ทำให้ประสิทธิผลของงานของครูที่อยู่ในระดับดีมีจํานวนไม่มาก ครูประจําการที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ทยอยเกษียณอายุราชการทําให้ต้องพัฒนาครูใหม่ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ควรจัดขนาดห้องเรียนให้มีจํานวนนักเรียนที่เหมาะสม ควรเพิ่มอัตราครู (ประจําการ) ให้เพียงพอ หรือระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองในการจัดจ้างครูสอนให้เพียงพอ ส่งเสริม พัฒนาครูให้มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และหรือให้ครูที่มีความรู้นําความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่โรงเรียนมีให้ให้คุ้มค่า หรือจัดประกวด แข่งขันสร้างนวัตกรรมด้วยสื่อเทคโนโลยี เป็นการสร้างกําลังใจแก่ครูควบคู่ไปกับการพัฒนา ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นของนักเรียนและครูให้มากขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ควรมีการนิเทศภายในอย่างจริงจังและมีการบันทึกผลการนิเทศที่เป็นรูปธรรม อย่างเป็นระบบและมีรูปแบบเดียว เพื่อให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน พร้อมพัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้