DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.author พรรณภัสสร พิพัฒน์วัชรา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7408
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 4) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงอุปนัย (Inductive analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ คือ จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นแต่จำนวนห้องเท่าเดิมทําให้นักเรียนแน่นห้องเรียนซึ่งไม่เอื้อกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูทุกคนมีภาระงานหลักที่ต้องรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรมชุมนุม และภาระงานสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานของโรงเรียน ทำให้ประสิทธิผลของงานของครูที่อยู่ในระดับดีมีจํานวนไม่มาก ครูประจําการที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ทยอยเกษียณอายุราชการทําให้ต้องพัฒนาครูใหม่ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ควรจัดขนาดห้องเรียนให้มีจํานวนนักเรียนที่เหมาะสม ควรเพิ่มอัตราครู (ประจําการ) ให้เพียงพอ หรือระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองในการจัดจ้างครูสอนให้เพียงพอ ส่งเสริม พัฒนาครูให้มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และหรือให้ครูที่มีความรู้นําความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่โรงเรียนมีให้ให้คุ้มค่า หรือจัดประกวด แข่งขันสร้างนวัตกรรมด้วยสื่อเทคโนโลยี เป็นการสร้างกําลังใจแก่ครูควบคู่ไปกับการพัฒนา ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นของนักเรียนและครูให้มากขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ควรมีการนิเทศภายในอย่างจริงจังและมีการบันทึกผลการนิเทศที่เป็นรูปธรรม อย่างเป็นระบบและมีรูปแบบเดียว เพื่อให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน พร้อมพัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษา -- การบริหาร
dc.subject วิชาการ -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative Problems nd guided deverlopment for cdemic ffirs dminstrtion of ryongwittykom school under the secondry eduction service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the issue and guideline for developing of academic administration of Rayongwittayakom school under the Secondary Education Service Area office 18. The key informants were 20 teachers, who were teaching 8 subject strands at Rayongwittayakom school under the Secondary Education service Area office 18. The instrument used to collect the data was a semi-structured interview on problem and guideline for the development of academic administration of Rayongwittayakom school. Data were analyzed using content analysis and inductive analysis. The research results were; The problems of academic affairs of Rayongwittayakom school were academic administration, the increase of number of students crowded classrooms, which is not conducive to the learning activities. Every teacher has a major task to be responsible for three areas: teaching and learning, student support, extra curriculum management. Therefore, the effectiveness of the teacher in the class was low. More experienced teachers have to get retired so there is a need to development a younger teacher. Guidelines for the development of academic administration of Rayongwittayakom school were that; Class size should be reduced to a reasonable number of students. Increase the number of teacher, asking for parent support to hire teacher, training teacher to be more competent in teaching and technology. Utilizing technological equipment more effectively. Encouraging using local learning resources. Stimulating students to be more aware of environmental protection. Having serious internal supervision to provide teachers profession development.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account