DSpace Repository

การสำรวจและศึกษาแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออก (ศิลปกรรม-ศิลปหัตถกรรม)

Show simple item record

dc.contributor.author สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/73
dc.description.abstract การวิจัยแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออกพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 เขต ได้แก่ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ อบต. โดยเน้นความสำคัญเขตพื้นที่ อบต. ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว และฉะเชิงเทรา พิจารณาเห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ประเด็นคือ ยังขาดการศึกษาวิจัยแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการรวบรวม จัดแบ่ง ลักษณะ ประเภท และเผยแพร่ไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสารและการสำรวจเก็บข้อมูลภาคสนามกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1.ปัจจัยพื้นฐาน : มีบทบาทต่อรูปแบบศิลปกรรมและศิลปหัตถกรรมในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองและเขตนอกเมืองของ อบต. มีความแตกต่างกัน ชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญมีการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบของศิลปะและวัฒนธรรมมากกว่าพื้นที่เขตนอกเมือง มีปัจจัยเกื้อหนุนทั้งด้านลักษณะ ตำแหน่ง ที่ตั้งเมืองและการเป็นมลฑลศูนย์กลางการปกครอง2.ศิลปกรรม : จิตรกรรม-ประติมากรรม : บรรทัดฐานจากเมืองหลวงมีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปกรรมแบบประเพณีนิยมในเมือง พบอิทธิพลศิลปกรรมจีนได้เข้ามามีบทบาทแฝงเล้น และบูรณาการกับศิลปกรรมภาคตะวันออก จิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นถิ่น มีเอกลักษณ์ของภูมิภาคมากกว่าในเขตเมือง และนิยมสร้างประติมากรรมอนุสรณ์บนเส้นทางเดินทัพอันเป็นลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์3.ศิลปกรรม : สถาปัตยกรรม : อาคารทางพุทธศาสนามีความเป็นต้นแบบเขตท้องถิ่น โดยเฉพาะพระอุโบสถ มีการพัฒนาอาคารที่พักอาศัยแบบ "บังกาโร" (bungalo) ตากอากาศรับรองการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมณฑลการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีอิทธิพลตะวันตก เป็นลักษณะร่วมสมัยกลุ่มอาคารลักษณะต่าง ๆ 4.ภูมิปัญญาพื้นถิ่น : ศิลปหัตถกรรม : การแกะสลักหิน เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีเอกลักษณ์ในท้องถิ่น รวมถึงการทอเสื่อและการจักสาน มีต้นแบบจากชนต่างวัฒนธรรมดั้งเดิม ส่วนการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ มีการสืบทอดและพัฒนาไปสู่ระดับสากล กล่าวโดยรวม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ศิลปกรรมทางจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่นทางศิลปหัตถกรรมระยะแรกได้รับอิทธิพลจากชนต่างวัฒนธรรม หลายเชื้อชาติ และพัฒนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นในระยะต่อมา th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject ย (ภาคตะวันออก) - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว th_TH
dc.subject วัฒนธรรมไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject ศิลปกรรม - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject ศิลปกรรมไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject ไทย (ภาคตะวันออก) - - โบราณสถาน th_TH
dc.subject ไทย (ภาคตะวันออก) - - ความเป็นอยู่และประเพณี th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title การสำรวจและศึกษาแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออก (ศิลปกรรม-ศิลปหัตถกรรม) th_TH
dc.title.alternative A survey and of the basic sources of arts, culture and local wisdom in the Eastern Region (fine arts and handicraft) en
dc.type Research
dc.year 2543
dc.description.abstractalternative The study was conducted to investigate basic of arts, culture and local wisdom in two government administrative areas-municipality areas and Social District Government Organization areas-on the eastern region. It was particularly emphasized on SDGO areas in eight provinces. They are Chonburi, Chantaburi, Trad, Rayong, Prachinburi, Nakornnayok, Sar Kaew and Chanchengsao. According to the Constitution of Thailand, B.E. 2540, it is stated that the local government organization's duty is to preserve and maintain the local arts, custom, wisdom and culture. However, due to the lack of the research studying basic sources of arts and culture in concrete, the study aimed to collect, categorize and distribute the data about this to SDGO and related organizations. The study was conducted by means of document study and field survey of the sample in the eight provinces. The finding of the study could be classified into four aspects. They are;1.Basic factors : Basic factors have the influence on the styles of arts and handicraft in municipality areas or town areas and SDGO areas or remote areas differently. Town municipalities, as the central areas of progress, have changed more in the styles of arts and handicraft than those in the remote areas. The were many minor influenced factors such as the location of town sites and the administrative government centralization.2.Fine arts in painting and sculpturing : It was found that the criteria from Bangkok have the influence over the styles of painting and sculpturing as the public favor in town areas. Also, the Chinese arts have hidden influenced and combined with the local eastern region arts. It is favorable to build the monument along the army route signify the specific political geography.3.Fine arts in architecture : Buddhist buildings represented the original local architecture especially the Ubosot. Moreover, there was the improvement of the bungalow style buildings to supply the tourism development. Also, it was found that the western architecture styles during the King Rama V's reign were found in many kind of buildings. 4.Local wisdom in handicraft : The stone carving is the original local wisdom and its unique is truly distinctive. These local crafts also included mat weaving and bamboo strip weaving. These crafts originated from the different cultural peoples. In addition, the eastern region in the significant prodution center of gems and jewelry making in Thailand. These arts have been passed on the improved from local style to more international style. In conclusion, the finding showed that the arts in Painting, sculpturing, architecture and local wisdom, in the first stage, was influenced by the different cultural group of peoples in the area and then developed to be its own unique styles en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account