Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อ 1) ประเมินความต้องการจําเป็นด้านการรู้การประเมินผลในชั้นเรียนของครู 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจและ 3) ศึกษาผลการใช้คู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจการวิจัย
ในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประเมินความต้องการจําเป็นการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู กลุ่มตัวอย่างคือครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก จํานวน 575 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความตรง
มีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 อํานาจจําแนกมีค่าระหว่าง 0.30 ถึง 0.94 ความเที่ยงมีค่าตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.96 วิเคราะห์ข้อมูล คํานวณดัชนีการจัดเรียงลําดับความต้องการจําเป็นโดยใช้สูตร PNI แบบปรับปรุง ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพ ของคู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู
ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจ ทําการสร้างและหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้คู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจกลุ่มเป้าหมายที่อาสาเข้าร่วมพัฒนามีจํานวน 10 คน คือ ครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 เครื่องมือที่ใช้ คู่มือวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจแบบวัดการรู้การประเมินผลในชั้นเรียนของครู โดยความตรงมีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 อํานาจจําแนกมีค่าระหว่าง 0.30 ถึง 0.95 และความเที่ยงมีค่า ตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูมีความต้องการจําเป็นจากความต้องการจําเป็นมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาวิธีการประเมิน การใช้ผลการประเมินเพื่อการตัดสินใจ การรายงานผลการประเมิน การเลือกวิธีการประเมิน การสื่อสารเกี่ยวกับการประเมินผล การให้ระดับผลการเรียนของนักเรียน และจรรยาบรรณการประเมิน
2. วิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบการเพิ่มอํานาจและคู่มือการพัฒนา มีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมิน 4 ด้าน ของ Stufflebeam คือ มีความถูกต้อง มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสม 3. ครูมีคะแนนพัฒนาทางบวกในเรื่องการรู้การประเมินในชั้นเรียน