DSpace Repository

การพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครูด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอำนาจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author อิสระ กุลวุฒิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7385
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อ 1) ประเมินความต้องการจําเป็นด้านการรู้การประเมินผลในชั้นเรียนของครู 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจและ 3) ศึกษาผลการใช้คู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจการวิจัย ในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประเมินความต้องการจําเป็นการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู กลุ่มตัวอย่างคือครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก จํานวน 575 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความตรง มีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 อํานาจจําแนกมีค่าระหว่าง 0.30 ถึง 0.94 ความเที่ยงมีค่าตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.96 วิเคราะห์ข้อมูล คํานวณดัชนีการจัดเรียงลําดับความต้องการจําเป็นโดยใช้สูตร PNI แบบปรับปรุง ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพ ของคู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจ ทําการสร้างและหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้คู่มือและวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจกลุ่มเป้าหมายที่อาสาเข้าร่วมพัฒนามีจํานวน 10 คน คือ ครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 เครื่องมือที่ใช้ คู่มือวิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอํานาจแบบวัดการรู้การประเมินผลในชั้นเรียนของครู โดยความตรงมีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 อํานาจจําแนกมีค่าระหว่าง 0.30 ถึง 0.95 และความเที่ยงมีค่า ตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูมีความต้องการจําเป็นจากความต้องการจําเป็นมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาวิธีการประเมิน การใช้ผลการประเมินเพื่อการตัดสินใจ การรายงานผลการประเมิน การเลือกวิธีการประเมิน การสื่อสารเกี่ยวกับการประเมินผล การให้ระดับผลการเรียนของนักเรียน และจรรยาบรรณการประเมิน 2. วิธีการพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครู ด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบการเพิ่มอํานาจและคู่มือการพัฒนา มีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมิน 4 ด้าน ของ Stufflebeam คือ มีความถูกต้อง มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสม 3. ครูมีคะแนนพัฒนาทางบวกในเรื่องการรู้การประเมินในชั้นเรียน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การประเมินผลทางการศึกษา
dc.subject ครู -- การศึกษาและการสอน
dc.subject การเรียนรู้
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject ครู
dc.subject วิจัยชั้นเรียน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การพัฒนาการรู้การประเมินในชั้นเรียนของครูด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเสริมพลังอำนาจ
dc.title.alternative A development of ssessment litercy of primry-school techers through the empowering-ssessment for lerning
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to: 1) Assess needs of teacherson their assessment in the classroom. 2) Develop and test the quality of the training package to develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning, and 3) Study the result of the training package to develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning. The research method was divided into three stages. The first stage was to conduct the need assessment of teacher on theirassessment in the classroom. The sample consisted of575 teachers in the East of Thailand drawn by Multi-Stage Sampling. The research tool was the questionnaire with the content validity(IOC) ranged from 0.60 to 1.00. The discriminationindex ranged from 0.30 to 0.94. The Cronbach's Coefficient ranged from 0.85to0.96. The researcher analyzed the data using the Priority Need Index (PNImodified). The second stage was developingand testingthe quality of the training package to develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning by Expert. The third stage study the result of thetraining packageto develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning. The research sample was 10 volunteers who were primary school teacher of Nakhon Ratchasima Educational Area District Office 6. The research tools was the training package to develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning. and assessment test, withcontent validity (IOC) ranged from 0.60 to 1.00. The discriminationindex was ranged from 0.30 to 0.95. The Cronbach's Coefficient ranged from 0.85to0.89. Descriptive statistics were used for quantitative data analysis. The research findings were as follows: 1. The needsof teacher on their assessment in the classroom were; 1) Developing assessment methods. 2) Using assessment outcomes in decision making. 3) Interpreting learning outcomes4) Choosing an assessment method. 5) Communicating assessment outcomes. 6) Using assessment to determine levels of learning outcomesand,7) Knowing ethical assessment, respectively. 2. The training methodto develop assessment literacy of primary school teachers through the Empowering-Assessment for Learning meetingthe requirement of accuracy,utility, feasibility and propriety. 3. 10 volunteers who were primary school teacher of Nakhon Ratchasima Educational Area District Office 6 hadpositive of development all teacher developed their Assessment Literacy accordingly tothe requirement.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account