Abstract:
ความผาสุกทางใจเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะสุขภาพที่สำคัญสำหรับผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภทที่มีผลต่อการดูแลผู้ปูวยจิตเภทเป็นอย่างมาก การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผาสุกทางใจ และปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภทที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 120 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความผาสุกโดยทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองใน การดูแลผู้ปูวยจิตเภท แบบประเมินการรับรู้ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภท แบบประเมินความหวัง และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภทมีความผาสุกทางใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 71.74, SD = 9.27) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การรับรู้ภาระในการดูแล และความหวัง สามารถร่วมกันทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภทได้ร้อยละ 27 (R 2 = .27, F = 21.69, p< .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ปูวย จิตเภทได้สูงสุด คือ การรับรู้ภาระในการดูแล (β = -.334, p< .001) รองลงมาคือความหวัง (β = .226, p< .05) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางสุขภาพ ในการออกแบบจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ปูวยจิตเภทโดยเน้นการเสริมสร้างความหวัง และลดภาระการดูแลของผู้ดูแล