Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) ขั้นตอน การศึกษาเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งพบปัญหาหลัก 2 ประการ คือ การส่งมอบชิ้นส่วนผิดรุ่น และการส่งมอบชิ้นส่วนล่าช้า ปัญหานี้ได้ถูกวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะ ส่งผลกระทบต่อสายการผลิตของลูกค้าด้วยแผนภูมิก้างปลาและ FMEA เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ของปัญหาโดยใช้ดัชนี ความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ผลจากการศึกษาพบสาเหตุของจุดบกพร่องใน กระบวนการผลิต 13 สาเหตุในโรงงานกรณีศึกษา โดยก่อนปรับปรุงมีค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำเฉลี่ย 207.7 คะแนน และพบปัญหาที่เกิดขึ้นที่หน้างานของลูกค้า จำนวน 11 ครั้งใน 18 เดือน หรือเฉลี่ย 0.61 ครั้งต่อเดือน งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงการผลิตที่เป็นจุดเสี่ยงซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการส่งมอบโดยใช้เทคนิคการจัดการอาทิการควบคุมด้วยสายตา เทคนิคการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันการวางแผนและควบคุมการผลิต การป้องกันความผิดพลาด 5ส เป็นต้น ผลของการปรับปรุงทำให้ค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำเฉลี่ยลดลงเป็น 24.54 โดยลดลงจากก่อนปรับปรุง ร้อยละ 88.18 และปัญหาที่พบที่หน้างานของลูกค้ามีเพียง 1 ครั้งใน 4 เดือน หรือเฉลี่ย 0.25 ครั้งต่อเดือนหรือลดลงร้อยละ 59.09