DSpace Repository

การให้บริการเชิงนิเวศของปลิงดำแข็ง Holothuria (Halodeima) atra Jager, 1833 ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
dc.contributor.advisor ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์
dc.contributor.author วิสสุตา ลามโยไทย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:45:45Z
dc.date.available 2023-05-12T03:45:45Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7324
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม และการให้บริการเชิงนิเวศของปลิงดำแข็งในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสารอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีโดยทำการสำรวจ 2 เดือนต่อครั้ง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดประชากรและค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของปลิงดำแข็งมีค่าเท่ากับ 85 ตัวและ 0.42 ตัวต่อตารางเมตร ตามลำดับ โดยใน เดือนพฤศจิกายนพบมากสุด (144 ตัว) รองลงมาคือเดือนพฤษภาคม (135 ตัว) เดือนมิถุนายน (99 ตัว) และพบน้อยสุดในเดือนมกราคม (35 ตัว) ปลิงดำแข็งมีการเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ซึ่งจำนวนประชากรมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับปริมาณสารแขวนลอยในน้ำทะเล (R=0.909) ปลิงดำแข็งมีการแบ่งตัวตลอดทั้งปีซึ่งมีการแบ่งตัวมากที่สุดในเดือนมีนาคม (80%) และบริเวณแอ่งน้ำขึ้นน้ำลงของหาดเทียนนี้น่าจะสามารถรองรับปลิงดำแข็งได้ประมาณ 100-200 ตัว/40 ตารางเมตร ซึ่งถ้าเกินกว่าความสามารถในการรองรับของแอ่งน้ำแล้วปลิงดำแข็งจะอพยพออกไปในบริเวณเขตใต้ระดับน้ำขึ้นน้ำลงปลิงดำแข็งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินทรายกินอินทรียวัตถุในดินตะกอน พื้นทะเลเป็นอาหารโดยมีการกินอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ในส่วนของการให้บริการเชิงนิเวศของปลิงดำแข็งพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณอินทรียวัตถุในดินตะกอนที่อยู่รอบตัวในทางเดินอาหาร และในมูลมีเท่ากับ 0.78±0.11, 1.76±0.26 และ 0.85±0.16 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ปริมาณอินทรียวัตถุในทางเดินอาหารมีค่าแตกต่างจากดินตะกอนที่อยู่รอบตัวและมูลของปลิงดำแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นปลิงดำแข็งมีบทบาทการให้บริการเชิงนิเวศของการเป็นสัตว์ที่ช่วยหมุนเวียนอินทรียวัตถุในดินตะกอนซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับสัตว์หน้าดินได้ใช้ประโยชน์ต่อไป และคุณภาพน้ำบริเวณหาดเทียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ปลิงดำ -- นิเวศวิทยา
dc.subject ปลิงทะเล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.title การให้บริการเชิงนิเวศของปลิงดำแข็ง Holothuria (Halodeima) atra Jager, 1833 ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Ecologicl services of holothuri (hlodeim)tr jger, 1833 in the mrine plnt genetic conservtion re, mo ko smesrn, chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The present status and population changes, the relationship between the environmental factors and ecological service of Holothuria (Halodeima) atra Jager, 1833 in the marine plant genetic conversation area, Mo Ko Samaesarn, Sattahip district, Chonburi province were investigated bimonthly from January 2017 to November 2017. The results show that the average number of population and the averagedensity of H. (H.) atra were 84.5 individuals and 0.42 individual/m 2 ,respectively. In details, the number of individuals is highest in November (144individuals), followed by May (135 individuals) and June (99 individuals) whereas the lowest number of individuals is in January (35 individuals). It is consequently indicated that population number of H. (H.) atra changed throughout the period of study and is positively correlated with the amount of suspension in the sea water (R=0.909). In addition, the fission of H. (H.) atra occurred throughout the year and the monthly incidence of fission was highest in March (80%). The tidal pool of Haad Tein could support about 100-200 individuals/40 m2 of H. (H.) atra. If it is more than that, they migrate to subtidal zone. H. (H.) atra lives in sandy sediment and eats organic matter in sediment on the sea floor by constancy throughout both day and night. In terms of ecological service of H. (H.) atra, the mean organic matter in the surrounding sediment, in digestive tract and in feces was 0.78±0.11%, 1.76±0.26% and 0.85±0.16%, respectively. The amount of organic matter in digestive tract was significantly different from that of the surrounding sediment and the feces at the 0.05 level. So, the role of H. (H.) atra in the ecological service is recycling of organic matter in sediment, which benefits to benthic animals. The quality of the sea water in Haad Teinis relatively good compared with the standard of sea water for natural resource conservation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account