Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการจำลองการไหลเวียนกระแสน้ำด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ POM (Princeton Ocean Model) 3 มิติเพื่อหาเงื่อนไขขอบเขตเปิดที่เหมาะสมในการนำมาศึกษาการไหลเวียนกระแสน้ำในบริเวณอ่าวไทยตอนเหนือโดยจำลองการไหลเวียนกระแสน้ำภายใต้เงื่อนไขขอบเขตเปิดแบบระดับน้ำ (Case B1) และแบบกระแสน้ำ (Case B2) ซึ่งได้รวมเอาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไหลเวียนกระแสน้ำ ได้แก่ ลม น้ำขึ้นน้ำลง น้ำท่า ความเค็มและอุณหภูมิน้ำทะเล รวมถึงความลึกพื้นท้องทะเลเข้าในการคำนวณ ผลการศึกษา พบว่ากระแสน้ำ Case B1 มีลักษณะแรงผิดปกติ (100 cm/s) บริเวณใกล้ขอบเขตเปิด และไม่พบการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ส่วนอ่าวไทยตอนบนกระแสน้ำมีอัตราเร็ว 10– 20 cm/s และพบการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล Case B2 กระแสน้ำใกล้ขอบเขตเปิดมีลักษณะเบา และเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเช่นเดียวกับอ่าวไทยตอนบน (อัตราเร็ว 10 – 20 cm/s) จากการเปรียบเทียบระดับน้ำขึ้น น้ำลงพบว่าผลการคำนวณจาก Case B2 มีความสอดคล้องกับระดับน้ำขึ้น น้ำลงจากการตรวจวัดมากกว่า Case B1 จึงสรุปได้ว่าเงื่อนไขขอบเขตเปิดแบบกระแสน้ำ มีความเหมาะสมในการนำมาศึกษาการไหลเวียนกระแสน้ำในอ่าวไทยตอนเหนือมากกว่าแบบระดับน้ำกระแสน้ำตามฤดูกาลในอ่าวไทยตอนเหนือจากแบบจำลอง Case B2 พบว่ากระแสน้ำใกล้ผิวทะเลและกระแสน้ำใกล้พื้นทะเลเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของลม โดยพบว่ากระแสน้ำ เฉลี่ยตามความลึกในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ไหลไปทางทิศตะวันออก และไหลแบบตามเข็มนาฬิกาในบริเวณอ่าวไทยตอนบนในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกระแสน้ำไหลไปทางทิศ ตะวันตกและไหลแบบทวนเข็มนาฬิกาในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ส่วนช่วงเปลี่ยนฤดูครั้งที่ 1 กระแสน้ำไหลแบบทวนเข็มนาฬิกาบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก และไหลแบบตามเข็มนาฬิกา บริเวณอ่าวไทยตอนบน และช่วงเปลี่ยนฤดูครั้งที่ 2 กระแสน้ำมีลักษณะเบาและไหลไปทางทิศตะวันตก และไหลแบบทวนเข็มนาฬิกาในบริเวณอ่าวไทยตอนบน