Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความต้องการจัดการสวัสดิการของกําลังพลกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ 2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจัดการสวัสดิการจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของกําลังพลกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ โดยศึกษาเฉพาะกําลังพลกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ จํานวน 254 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ค่าร้อยละการหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการทดสอบสมมติฐานใช้ One-way ANOVA ทดสอบสมมติฐานหาค่าความแตกต่างวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรอิสระ ตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า กําลังพลที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อความต้องการจัดการสวัสดิการ โดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด (𝑥𝑥̅=4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ากําลังพล มีความคิดเห็นต่อความต่องการจัดการสวัสดิการทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ สวัสดิการ ด้านนันทนาการ (𝑥𝑥̅=4.46) สวัสดิการด้านการทํางาน (𝑥𝑥̅=4.44) สวัสดิการด้านการมีรายได้เสริม (𝑥𝑥̅=4.40) สวัสดิการด้านการศึกษา (𝑥𝑥̅=4.30) สวัสดิการด้านความมั่นคงทางสังคม (𝑥𝑥̅=4.29) สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย (𝑥𝑥̅=4.29) และสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย (𝑥𝑥̅=4.22) ตามลําดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นของกําลังพลเกี่ยวกับการจัดการสวัสดิการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ มีความแตกต่างกันตามประเภทชั้นยศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในส่วนของอายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ตําแหน่ง และอายุการทํางานของกําลังพลมีความต้องการจัดสวัสดิการกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ.05 ข้อเสนอแนะ จากการวิจัย คือ หน่วยควรจัดให้มีสวัสดิการทั้งในด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านการมีรายได้เสริม รวมถึงการนันทนาการและการดูแลสุขภาพไปพร้อมกัน และจัดให้มีทุนการศึกษาอบรมแก่กําลังพล ในทุกด้านนอกเหนือจากที่กองทัพบกจัดให้ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญของกําลังพลต่อไป