Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 4 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตาม เพศ ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ ในการทำงานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของกลุ่ม โรงเรียนบางละมุง 4 ในปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ ในการการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Likert scale) ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .73 ถึง .97โดยมีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 4 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ การนิเทศการศึกษาการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 4 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 4 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ได้มีดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาควรมีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนากระบวนจัดการเรียนรู้ควรจัดให้มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาควรสนับสนุน งบประมาณในการจัดทำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครู เพื่อกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษาควรปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้มีความพร้อม ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ควรดำเนินการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้พร้อมทั้งพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาส่งเสริมให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้