Abstract:
การศึกษานี้เป็นการสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ของนิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 319 คน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบเจตคติของนิสิตระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและกลุ่มที่ยังไม่ลงทะเบียนเรียน ต้นภาคเรียนและปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติของนอสอตกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในการศึกษาระหว่างก่อน และหลังเรียน
แบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจนี้ คือ แบบสอบถามเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ แบบสอบถามเรียบเรียงเป็นภาษาไทย จากแบบสอบถามของคริสเตนเซ่นและคาเนเซค มหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส รัฐเท็กซัส และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและภาษาที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน
แบบสอบถามเจตคติมี 84 คำถาม เป็นคำถาม 1๗. ถามความคิดเห็น 5 ระดับแบบลิเคิร์ต ถามเจตคติ 7 ด้าน 2). คำถามสองด้านแบบเคย์ ถามความรู้สึก 3 อย่างว่าชอบสิ่งไหน สิ่งไหนยาก และเรียนรู้จากสิ่งไหนระหว่างการอ่านหนังสือ เขียน ดูทีวี และใช้คอมพิวเตอร์ 3).ถามการมรคอมพิวเตอร์ และใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
การสำรวจเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2542 ครั้งที่สองเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จากการสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ของนิสิต 7 ด้าน ได้ผลดังนี้ ด้านความสำคัญ ด้านความเพลิดเพลิน ด้านแรงจูงใจ/เพียรพยายาม ด้านนิสัยการเรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี ด้านความวิตกกังวล อยู่ในระดับน้อย และด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนและไม่ลงทะเบียนเรียน ต้นภาคเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านนิสิยการเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านแรงจูงใจ/เพียรพยายาม เมื่อเปรียบเทียบ ปลายภาคเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านนิสัยการเรียน เปรียบเทียบเจตคติของนิสัยระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนวิชคอมพิวเตอร์ในการศึกษา ระหว่างก่อนและหลังเรียน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละด้าน จากแบบสอบถามเจตคติสองด้าน นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องยากแต่ช่วยในการเรียนรู้ นิสิตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเพียงร้อยละ 26 และใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านเพียงร้อยละ 7
ข้อแนะนำในการทำวิจัยคือ การสำรวจเจตคติในชั้นปีอื่น ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เปรียบเทียบเจตคติของนิสิตต่างวิชาเอก