Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในโรงเรียน มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30-.82 และค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .74-.87 และค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2. ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .801 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ คุณภาพชีวิตการทำงานจำนวน 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ด้านลักษณะการทำงานอยู่บนรากฐานของกฎหมาย ด้านความสมดุลของชีวิตในภาพรวม ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน และด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนได้ร้อยละ 68.88 โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.660 + 0.316 (X6) + 0.217 (X7) + 0.191 (X4) + 0.164 (X8) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.338 (Z6) + 0.230 (Z7) + 0.197 (X4) + 0.186 (X8)