DSpace Repository

คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.advisor สมศรี ทองนุช
dc.contributor.author วีรยุทธ โลมพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:25Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:25Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7113
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในโรงเรียน มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30-.82 และค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .74-.87 และค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2. ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .801 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ คุณภาพชีวิตการทำงานจำนวน 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ด้านลักษณะการทำงานอยู่บนรากฐานของกฎหมาย ด้านความสมดุลของชีวิตในภาพรวม ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน และด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนได้ร้อยละ 68.88 โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.660 + 0.316 (X6) + 0.217 (X7) + 0.191 (X4) + 0.164 (X8) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.338 (Z6) + 0.230 (Z7) + 0.197 (X4) + 0.186 (X8)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subject ครูประถมศึกษา -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ
dc.title คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
dc.title.alternative The qulity of work life ffecting the orgniztionl commitment of school techer under the Office of Phetchburi Primry Eductionl Service Are 1
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to investigate the quality of work life that affected the organizational commitment of school teachers under the Office of Phetchaburi Primary Education Service Area 1. The sample consisted of 265 teachers under the Office of Phetchaburi Primary Education Service Area 1. The research instrument was a five rating scale questionnaire. The questionnaire on the teacher’s quality of work life had a discriminative power of .30-.82 and reliability at .95. The questionnaire on the teacher's organizational commitment of school had a discriminative power of .74-.87 and reliability at .97. The data was analyzed by using a computer program for mean ( ), standard deviation (SD), correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The teacher’s quality of work life were rated at high level. 2. The teacher's organizational commitment of school were rated at high level. 3. The relationship between the teacher's quality of work life and teacher’s organizational commitment of school as a whole were found at high level (.801) with significance at .01 level. 4. The results of analysis of the quality of work life affecting teacher's organizational commitment of school were that the predictors of quality of work life consisted of four variables, they were working based on law, equilibrium of life space, growth and security and social relevance. All variable predicators were accounted for 68.88 percent. These could be formed as the regression equations of raw score and standardized score as follows: The Regression Equation of Row Score: = 0.660 + 0.316 (X6) + 0.217 (X7) + 0.191 (X4) + 0.164 (X8) The Regression Equation of Standardized Score: = 0.338 (Z6) + 0.230 (Z7) + 0.197 (X4) + 0.186 (X8)
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account