Abstract:
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการนิเทศภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอน สังกัดโรงเรียนและขนาดโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1973) จำนวน 136 คน ดำเนินการสุ่ม แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสำรวจรายการและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับใน 5 ด้าน คือ การรับความรู้จากผู้รับ การนิเทศการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นิเทศการติดต่อสื่อสารกับผู้นิเทศ สัมพันธภาพกับผู้นิเทศและการติดตามประเมินผลจากผู้นิเทศมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58-.86 และมีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบรายคู่ (Post hoc multiple comparison) ด้วยวิธี (LSD) Least significant difference ผลการวิจัย พบว่า 1. การนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเรียงลำดับ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการรับความรู้จากผู้นิเทศด้านการติดตามประเมินผลจากผู้นิเทศ ด้านการติดต่อ สื่อสารกับผู้นิเทศ ด้านการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นิเทศและด้านสัมพันธภาพกับผู้นิเทศ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการนิเทศภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกตามประสบการณ์ทางการสอน จำแนกตามสังกัดโรงเรียน และจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการรับความรู้จากผู้นิเทศ ซึ่งพบว่า การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลาง มีระดับการนิเทศสูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05