DSpace Repository

การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.author อรทัย วรรณ์ประเสริฐ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:25Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:25Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7109
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการนิเทศภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอน สังกัดโรงเรียนและขนาดโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1973) จำนวน 136 คน ดำเนินการสุ่ม แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสำรวจรายการและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับใน 5 ด้าน คือ การรับความรู้จากผู้รับ การนิเทศการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นิเทศการติดต่อสื่อสารกับผู้นิเทศ สัมพันธภาพกับผู้นิเทศและการติดตามประเมินผลจากผู้นิเทศมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58-.86 และมีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบรายคู่ (Post hoc multiple comparison) ด้วยวิธี (LSD) Least significant difference ผลการวิจัย พบว่า 1. การนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเรียงลำดับ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการรับความรู้จากผู้นิเทศด้านการติดตามประเมินผลจากผู้นิเทศ ด้านการติดต่อ สื่อสารกับผู้นิเทศ ด้านการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นิเทศและด้านสัมพันธภาพกับผู้นิเทศ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการนิเทศภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกตามประสบการณ์ทางการสอน จำแนกตามสังกัดโรงเรียน และจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการรับความรู้จากผู้นิเทศ ซึ่งพบว่า การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลาง มีระดับการนิเทศสูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เขตพื้นที่การศึกษา -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การนิเทศการศึกษา
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร
dc.title การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 และ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternative The internl supervision in the Primry School under the Office of Chchoengso Primry Eductionl Service Are 2 nd the Office of Chchoengso Provincil Office for Locl Administrtion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to study and compare level of the internal supervision of the government teachers in the primary schools under the office Chachoengsao Primary Educational Service Area 2 and teachers in the office of Chachoengsao Provincial Office for local administration as classified by teaching experience, departments and the size of the schools. The samples used in this study was 136 teachers. The criteria used to determine the size of the sample was suggested based on Yamane’s formulation. The instruments used in this research were a survey lists and a five-point scale questionnaire, with the item discriminative power between .58-.86 and the reliability of .97.The statistics used to analyze the data were Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD). This study revealed that: 1. Internal supervision of the primary school under the office Chachoengsao Primary Educational Service Area 2 and the office of Chachoengsao Provincial Office for local administration as a whole and each aspect was at a high level. The top five performance of internal supervision were: Knowledge, Evaluation, Communication, Compliance with recommendations, and the relationship of the supervisors. 2. The comparison between the internal supervision of the primary school under the office Chachoengsao Primary Educational Service Area 2 and the office of Chachoengsao Provincial Office for local administration as classified by teaching experience, departments and the size of the schools as a whole and each aspect showed no statistical significant difference: except in the area of Knowledge of the supervisors which was found that the internal supervision in the middle schools report a higher level than those in large schools.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account