Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตาม เพศ เกรดเฉลี่ย และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้เกณฑ์กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) และดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยแบ่งตามระดับชั้นปีการศึกษาได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 148 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 23 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .22-.49 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยใช้วิธี ของ Scheffe' ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงจากค่ามากไปหาน้อย พบว่า ด้านการยอมรับในสถาบัน ด้านค่าใช้จ่ายทางการศึกษา และด้านความมั่นคงก้าวหน้า 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรีของนิสิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความมั่นคงก้าวหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรีของนิสิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเกรดเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรีของนิสิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านค่าใช่จ่ายทางการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นิสิตที่มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป มีแรงจูงใจในการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05