Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูกลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.37-0.88 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%), ค่าร้อยละสะสม (% สะสม), ค่าเฉลี่ย (μ), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ), และดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ตามลำดับดังนี้ การส่งต่อนักเรียน การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 2. สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งต้องพัฒนาต่อไป ตามลำดับดังนี้ การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งต่อนักเรียน 3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ต้องการพัฒนา ตามลำดับดังนี้ การส่งต่อนักเรียน การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคลและการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 4. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้ การส่งต่อนักเรียน ควรมีการติดตามผลการส่งต่อนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันพิจารณาข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาเพื่อการส่งต่อ การคัดกรองนักเรียน ควรจัดทำเอกสารสารสนเทศผลการคัดกรองนักเรียนที่เป็นปัจจุบันและให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับ การคัดกรองนักเรียนเพื่อความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน การส่งเสริมนักเรียน ควรสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนสนใจ และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษของนักเรียน ที่เหมาะสมตามศักยภาพ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียน สรุปผลและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ จัดทำระเบียนสะสมข้อมูลนักเรียนให้ครบถ้วนทุกด้านและการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ควรจัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอยู่เสมอ และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน