DSpace Repository

การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมนึก ทองแก้ว
dc.contributor.author รจสุคน ดีประดับ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:24Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:24Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7107
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูกลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.37-0.88 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%), ค่าร้อยละสะสม (% สะสม), ค่าเฉลี่ย (μ), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ), และดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ตามลำดับดังนี้ การส่งต่อนักเรียน การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 2. สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งต้องพัฒนาต่อไป ตามลำดับดังนี้ การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งต่อนักเรียน 3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ต้องการพัฒนา ตามลำดับดังนี้ การส่งต่อนักเรียน การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคลและการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 4. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้ การส่งต่อนักเรียน ควรมีการติดตามผลการส่งต่อนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันพิจารณาข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาเพื่อการส่งต่อ การคัดกรองนักเรียน ควรจัดทำเอกสารสารสนเทศผลการคัดกรองนักเรียนที่เป็นปัจจุบันและให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับ การคัดกรองนักเรียนเพื่อความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน การส่งเสริมนักเรียน ควรสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนสนใจ และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษของนักเรียน ที่เหมาะสมตามศักยภาพ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียน สรุปผลและจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ จัดทำระเบียนสะสมข้อมูลนักเรียนให้ครบถ้วนทุกด้านและการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ควรจัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอยู่เสมอ และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ความช่วยเหลือทางการศึกษา
dc.subject นักเรียน -- การดูแล
dc.subject นักเรียน -- การให้คำปรึกษา
dc.title การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
dc.title.alternative The students’ cre system opertion in Bothong School Cluster 2, the Office of Primry Eductionl Service Chonburi Are 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed at studying the use of the students’ care system operated at Bothong school cluster 2 under The Office of Primary Educational Service Chonburi Area 2. It is a descriptive research which data was collected through a five-point-rating scale questionnaire. Statistics used in this study were Mean (μ), standard deviation (σ), modified priority needs index (PNI modified), percentage (%) and commulative percentage (% com) for data analysis. The result revealed that the students’ care system used in Bothong school cluster 2 was operated successfully at the The high level. However, it needed to be improved to assist teachers when students’ cases need transfering specialist, the students’ potentiality supporting, the students’ classification screening, the students’ individual familiarity and the students’ preventive and problems solving also need improving. The index of expectation was at “The very high level”, but it also needs for some development to have a better operation. These included in the modules such as students’ classification screening, the students’ preventive and problems solving, the students’ potentiality supporting, the students’ individual familiarity and the students’ cases transferring the development. Need assessment of the students’ care system operated in Bothong school cluster 2 were: the students’ cases transfer, the students’ classification screening, the students’ potentiality supporting, the students’ individual familiarity and the students’ preventive and problems solving. The suggestion for the students’ care system operated d Bothong school cluster 2 were the school should have a regular plan to follow up and monitor the students’ cases transfer to the specialist and the school should consider student’ s data history, background and problems before transferring in the case to the specialist. The school should update the students’ biography and information for utility in students’ cluster classification screening and communication and inform students’ parents to have a good understand about the students’ classification screening, process. The school should support and give students opportunity to participate in activities student may be interested in, and school should set appropriate activities for the students. The school should and analyz, summariz and collect students’ individual records and the students’ preventive and problems solving systematically as well as set students’ home round up for develop a good relationship between the school and students’ parents for the benefits of behavior modification of the students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account