Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษ่าผลของการเดาตอบข้อสอบคัดเลือกที่เป็นข้อสอบแบบฟรนัยแบบเลือกตอบ โดยศึกษาผลที่สำคัญของการเดาตอบคือ ความไม่ยุติธรรม (ผู้ที่มีความรู้น้อยกว่าเป็นผู้สอบได้และผู้ที่มีความรู้มากกว่าเป็นผู้สอบตก) และความไม่เหมาะสม (ผู้ที่มีความรู้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะสอบได้เป็นผู้สอบได้) ปรากฏว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสมมีค่าขึ้นอยู่กับ จำนวนตัวเลือกในข้อสอบแต่ละข้อ จำนวนข้อสอบ ความยากของข้อสอบ และจำนวนของผู้สอบผ่าน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรม มีค่าประมาณ .10-.30
ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่าประมาณ .08-.49
1. เกี่ยวกับจำนวนตัวเลือก ในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น
2. เกี่ยวกับจำนวนข้อ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น
ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม (ส่วนใหญ่ในค่าที่คำนวน)
มีค่าน้อยเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น
3. เกี่ยวกับความยากง่ายของข้อสอบในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบยาก และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบง่ายขึ้น หรือความยากลดลง
4. เกี่ยวกับจำนวนที่รับได้หรือจำนวนผู้สอบได้ในทุกๆรูปแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อจำนวนรับน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อจำนวนรับมากขึ้น
ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ ควรใช้ข้อสอบที่มีค่าความน่าจะเป็นดังกล่าวมีค่าน้อย ดังนั้นควรใช้ข้อสอบที่มีจำนวนที่มีจำนวนตัวเลือกมาก (5 ตัวเลือก) และข้อสอบควรจะง่าย