Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบการสอน 3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างความรู้ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านระบบการสอน 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ระบบการสอน และ 6) ประเมินรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านหลักสูตรการสอน หรือด้านการสอนสังคมศึกษา จำนวน 11 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดพฤติกรรมการสร้างความรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนต่อระบบการสอน และ 5) แบบประเมินรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 /E2 t-test (Dependent samples) ผลจากการวิจัย พบว่า 1. ระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การวิเคราะห์และกำหนดปัจจัยนำเข้า 3) การเตรียมความพร้อม 4) การจัดกิจกรรมการสอน 5) การประเมินผล 6) การสรุปผลผลการสอน 7) ผลผลิต และ 8) การตรวจสอบและปรับปรุงระบบ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน E1 /E2 เท่ากับ 84.06/84.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 ฉ 3. นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนผ่านระบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พฤติกรรมการสร้างความรู้ของนักเรียนหลังเรียนผ่านระบบการสอนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลองในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการสอนอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 6. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด