Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลัก ธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู และบุคลากร ทางการศึกษาโรงเรียนในกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของเคจซี่ และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .60-.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านโดยรวม ด้านหลักประสิทธิภาพ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการกระจายอำนาจ และด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่า โดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ