DSpace Repository

ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.author อรรถพงค์ รักมิตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.available 2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7030
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลัก ธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู และบุคลากร ทางการศึกษาโรงเรียนในกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของเคจซี่ และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .60-.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความพึงพอใจของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านโดยรวม ด้านหลักประสิทธิภาพ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการกระจายอำนาจ และด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่า โดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ครู -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject บุคลากรทางการศึกษา
dc.subject ธรรมรัฐ
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียน (ประถมศึกษา) -- การบริหาร -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.title ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มไชยราช-ช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
dc.title.alternative The stisfction of techers nd officers to the good governnce dministrtion of school dministrtors of Chiyrch-chngrek group in Bngsprnnoy district Prchup Khirikhn province under the office of primry eductionl service re 1
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the satisfaction of teachers and officers to the good governance Administration of school Administrators of Chaiyarach-Changraek group in Bangsarnnoy district Prachuapkhirikhan province under the Office of Primary Educational Service Area 1. The sample of this study were 100 teachers and officers of Chaiyarach-Changraek group in Bangsarnnoy district Prachuapkhirikhan province under the office of primary educational service area 1. The research instrument was a five point-rating-scale questionnaire of 40 items. The discriminative power of this questionnaire was between .60-.78 and the reliability was at .98. Statistical devices used for analyzing the data were Mean, Standard Deviation, and t-test. The findings revealed the following 1. The satisfaction of teachers and officers to the good governance Administration of school Administrators of Chaiyarach-Changraek group in Bangsarnnoy district Prachuapkhirikhan province under the Office of Primary Educational Service Area 1 in general and each aspect was at a high levels. 2. The satisfaction of teachers and officers to the good governance Administration of school Administrators of Chaiyarach-Changraek group in Bangsarnnoy district Prachuapkhirikhan province under the Office of Primary Educational Service Area 1 classified by the experiences in each aspect was not statistically significant difference, except in the areas of efficiency Participation, Decentralization and Emphasize wich showed significant difference at the level of .05 when considering participants opinion based on the size of their school, this study reported no statistically significant difference.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account