Abstract:
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมและการป้องกันการติดสุราของสตรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีติดสุรา จํานวน 20 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จํานวน 34 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 54 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ผลการวิจัย พบว่า 1. สตรีติดสุรามีตัวแบบทางสังคมเป็นบุคคลใกล้ชิดดื่มสุรา และกระบวนการกล่อมเกลา ทางสังคมที่ให้คุณค่าด้านบวกต่อสุราและเห็นการดื่มสุราเป็นเรื่องปกติ เมื่อเริ่มดื่มสุราและพึงพอใจ กับฤทธิ์ของสุราที่เกิดขึ้นทําให้มีการดื่มสุราอย่างต่อเนื่องและติดสุรา กระทั่งเกิดปัญหาสุขภาพ ได้รับคําปรึกษาและบําบัดรักษาหรือใช้หลักทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทําให้สามารถหยุดดื่มสุรา ได้ในครั้งต่อมานานขึ้น เมื่อมีการทบทวนชีวิต เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ไม่ให้คุณค่าต่อสุรา จะสามารถหยุดดื่มสุราได้โดยไม่กลับไปดื่มซ้ำ 2. ผลกระทบจากการติดสุราของสตรีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งด้านบวกจะเกิดผลทันทีหลังดื่มแต่ด้านลบจะเกิดขึ้นในระยะยาว 3. มาตรการป้องกันการติดสุราควรพัฒนาระบบการดูแลและช่วยเหลือสตรีติดสุรา เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง เพิ่มช่องทางเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดสุรา โดยเร็วเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนการให้คุณค่าต่อสุราด้านบวกลง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1) การค้นหาและคัดกรองสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดสุราและ เพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการสุขภาพ 2) พัฒนาระบบการดูแลส่งเสริมให้สตรีติดสุราเห็นคุณค่า ตนเอง 3) พัฒนาระบบการศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและการให้คุณค่าต่อสุรา ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพในกลุ่มสตรีที่ดื่มสุราและ มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น กลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้า และศึกษาถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมการเข้าสู่ระบบ บริการสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดและติดสุรา