DSpace Repository

พฤติกรรมและการป้องกันการติดสุราของสตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.advisor สมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.author ดรุณี คุณวัฒนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6932
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมและการป้องกันการติดสุราของสตรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีติดสุรา จํานวน 20 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จํานวน 34 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 54 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ผลการวิจัย พบว่า 1. สตรีติดสุรามีตัวแบบทางสังคมเป็นบุคคลใกล้ชิดดื่มสุรา และกระบวนการกล่อมเกลา ทางสังคมที่ให้คุณค่าด้านบวกต่อสุราและเห็นการดื่มสุราเป็นเรื่องปกติ เมื่อเริ่มดื่มสุราและพึงพอใจ กับฤทธิ์ของสุราที่เกิดขึ้นทําให้มีการดื่มสุราอย่างต่อเนื่องและติดสุรา กระทั่งเกิดปัญหาสุขภาพ ได้รับคําปรึกษาและบําบัดรักษาหรือใช้หลักทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทําให้สามารถหยุดดื่มสุรา ได้ในครั้งต่อมานานขึ้น เมื่อมีการทบทวนชีวิต เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ไม่ให้คุณค่าต่อสุรา จะสามารถหยุดดื่มสุราได้โดยไม่กลับไปดื่มซ้ำ 2. ผลกระทบจากการติดสุราของสตรีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งด้านบวกจะเกิดผลทันทีหลังดื่มแต่ด้านลบจะเกิดขึ้นในระยะยาว 3. มาตรการป้องกันการติดสุราควรพัฒนาระบบการดูแลและช่วยเหลือสตรีติดสุรา เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง เพิ่มช่องทางเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดสุรา โดยเร็วเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนการให้คุณค่าต่อสุราด้านบวกลง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1) การค้นหาและคัดกรองสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดสุราและ เพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการสุขภาพ 2) พัฒนาระบบการดูแลส่งเสริมให้สตรีติดสุราเห็นคุณค่า ตนเอง 3) พัฒนาระบบการศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและการให้คุณค่าต่อสุรา ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพในกลุ่มสตรีที่ดื่มสุราและ มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น กลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้า และศึกษาถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมการเข้าสู่ระบบ บริการสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดและติดสุรา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สตรีที่ติดสุรา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subject สตรี
dc.title พฤติกรรมและการป้องกันการติดสุราของสตรี
dc.title.alternative Behvior nd prevention lcohol dependence in women
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research were to examine alcohol dependence women behavior. The result will be used to set up preventive direction for alcohol dependence syndrome women by using qualitative research and in-depth interview as well as participated and non-participated observations collect the data. The survey was conducted with fifty four key informants. The data collection started from March 2015 to October 2015. The result showed as follows: 1. The alcohol dependence women had alcoholic family member as social role model. The socialization made for positive value alcohol drinking as normal life style. When they started drinking and were satisfied with its taste and then they continuously drink alcohol and became alcohol dependence eventually. When they faced health problem they asked for counseling and joined treatment program. The faith of religious principles could stop drinking behavior for the next time for a long time. By the time they were able to consider about their life and self-esteem as well as no longer see alcohol drinking merit. Ultimately they were able to stop drinking completely. 2. The positive and negative effects of women alcohol dependence on physical, mental health, social and economic, which were positive effects will be immediate after drinking but negative effects in the long term. 3. The preventive direction for alcohol dependence is to add more accessible channel for health service system of women in the risky group in order for them to receive care and support. In addition the caring and support system for such alcohol dependence women should also be developed to prevent potential serious impact in the future. The research recommends that the finding and screening alcohol dependence women in the risky group classification should be clearly defined. In addition the health service accessible channel should also be added. The system to promote self-esteem for alcohol dependence women should be developed. Develop of education to change attitudes and values into towards alcohol drinking. Suggestions for further research should be studied. The next research should take qualitative study in alcohol dependence women with psychological problem, for example, major depressive disorder. In addition the study should identify the factors which enhance alcohol dependence women and risky group to access health service system.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account