Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียน ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย เป็นวิจัยแบบผสม (Mixed method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา ตามลำดับ 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 พบว่า ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 โดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. แนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยทั้ง 4ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 4ด้าน ไปพร้อมๆกัน ด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะและกระตุ้น ด้านอารมณ์ ให้เด็กได้แสดงอารมณ์ได้อย่างอิสระ เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การเต้นประกอบจังหวะ การจัดกิจกรรมกลุ่ม จะทำให้มองเห็นพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กได้ชัดเจน ด้านสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เช่น การเล่นกลางแจ้ง การละเล่นของเด็กไทย การที่เด็กเล่นร่วมกัน เด็กได้ฝึกการแบ่งปัน การช่วยเหลือ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การให้อภัยซึ่งกันและกัน และ ด้านสติปัญญาหากเด็กมีการพัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสังคมอย่างดีแล้ว ด้านสติปัญญาก็จะพร้อม ที่จะเรียนรู้ตามไปด้วย เน้นทักษะการคิดแก้ปัญหาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเด็กจะเรียนรู้ได้ดีด้วยการลงมือกระทำ ไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยเหมือนเป็นการกระโดดข้ามพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็กเมื่อเด็กได้รับการพัฒนาทั้ง 4ด้านอย่างสมบูรณ์ เด็กก็จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข