DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.author ปิยะนุช ศรีตะปัญญะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:04Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:04Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6921
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียน ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย เป็นวิจัยแบบผสม (Mixed method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา ตามลำดับ 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 พบว่า ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 โดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. แนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยทั้ง 4ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 4ด้าน ไปพร้อมๆกัน ด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะและกระตุ้น ด้านอารมณ์ ให้เด็กได้แสดงอารมณ์ได้อย่างอิสระ เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การเต้นประกอบจังหวะ การจัดกิจกรรมกลุ่ม จะทำให้มองเห็นพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กได้ชัดเจน ด้านสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เช่น การเล่นกลางแจ้ง การละเล่นของเด็กไทย การที่เด็กเล่นร่วมกัน เด็กได้ฝึกการแบ่งปัน การช่วยเหลือ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การให้อภัยซึ่งกันและกัน และ ด้านสติปัญญาหากเด็กมีการพัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสังคมอย่างดีแล้ว ด้านสติปัญญาก็จะพร้อม ที่จะเรียนรู้ตามไปด้วย เน้นทักษะการคิดแก้ปัญหาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเด็กจะเรียนรู้ได้ดีด้วยการลงมือกระทำ ไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยเหมือนเป็นการกระโดดข้ามพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็กเมื่อเด็กได้รับการพัฒนาทั้ง 4ด้านอย่างสมบูรณ์ เด็กก็จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาปฐมวัย
dc.subject นักเรียนอนุบาล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
dc.title.alternative Fctors reltionlship the qulity development of lerning erly eductionl in Chonburi Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of the research were to study the factors related to the quality development of early childhood learners level under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 2 and to study guidelines study the quality development of learner in early childhood education. Mixed Methods was the methodology in the study. The sample consisted of 140 Early Childhood Teacher in Chonburi Primary Educational Service Area Office 2 Academic Year 2016. The instruments used in the research were questionnaires and interview forms. Statistics used for data analysis were mean scores ( ),standard deviations (SD) and Pearson product moment correlation. The findings were as follows: 1. The overall and by-dimension of teacher factor and environmental factorwere rated at the highest level while the school administrator factor was rated at high level. 2. The overall and by-dimension of early childhood learners factor were rated at high level, ranking from,physical development, emotional development and cognitive development, respectively. 3. Three factors, namely that were school administrator factor, teacher factor and environmental factor related with the quality development of the early childhood learners at the significant difference of .01 level. 4. The guidelines for the quality development of the early childhood learners were that development of all four aspects simultaneously both physical development, emotional development, social development and cognitive development.Thephysical developmentconsisted of gross motor development and fine motor development was stimulated and instructed by the teacher. Emotional development was to promote free expression through activities of children such as singing, storytelling, dancing and group activities. Social development was on children’slearning through play that practiced their sharing, forgiveness and helping each other such as outdoor activities and Thai children's play. When all three aspects as mentioned above, were well developed, the cognitive development would be ready to learn. Encouraging learning by doing with focusing on problem solving and usinglanguage for communication
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account