Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .23-.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกประสบการณ์สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้ คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ควรมีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอน ผลการเรียนรู้ ควรจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และครูเพื่อกำหนดระเบียบแนวทางปฏิบัติ ของสถานศึกษา ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรจัดให้มีการวัดผลและประเมิน อย่างเป็นระบบ มีการจดบันทึกรายงาน และนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกิจกรรม การเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการจัดการศึกษา ควรส่งเสริมให้ ครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเอง หรือสื่อการเรียนรู้ที่อยู่รอบ ๆ ตัวนักเรียน ด้านการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรจัดทำปฏิทินในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา