dc.contributor.advisor | ชัยพจน์ รักงาม | |
dc.contributor.author | เอกลักษณ์ ชนม์ประกาย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:24:59Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:24:59Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6894 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .23-.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกประสบการณ์สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้ คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ควรมีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอน ผลการเรียนรู้ ควรจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และครูเพื่อกำหนดระเบียบแนวทางปฏิบัติ ของสถานศึกษา ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรจัดให้มีการวัดผลและประเมิน อย่างเป็นระบบ มีการจดบันทึกรายงาน และนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกิจกรรม การเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการจัดการศึกษา ควรส่งเสริมให้ ครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเอง หรือสื่อการเรียนรู้ที่อยู่รอบ ๆ ตัวนักเรียน ด้านการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรจัดทำปฏิทินในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การศึกษาขั้นประถม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | ครูประถมศึกษา | |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร | |
dc.title | การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 | |
dc.title.alternative | Problems nd solution guidelines for cdemic dministrtion of primry school techers in Bnkhi distric under the Ryong primry eductionl service re office 1 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to investigate, to compare the problems of as well as to examine the solution guidelines for academic administration of primary school teachers in Bankhai District, under the Rayong Primary Educational Service Area Office1, as classified by school size and teaching experience. The sample included primary school teachers in Bankhai District, under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2016. Based on Krejcie and Morgan Sample Size Table (Krejicie & Morgan, 1970, pp. 607-610), the sample of the study, derived by means of stratified random sampling, using school size as a criterion, consisted of 122 teachers. A 35-item, 5-level rating scale questionnaire with the discrimination power between .23-.85 and the reliability at .95 was an instrument for data collection. Frequency, percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and One-way ANOVA were statistical devices for the data analysis. The findings revealed as follows: 1. The problems of academic administration of primary school teachers under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1, as a whole, were found at a medium level. Ranked from more to less average mean scores were the aspects of curriculum and curriculum management, assessment and evaluation as well as credit transfer, and research for educational quality development. 2. The comparison of problem levels of academic administration of primary school teachers in Bankhai District under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1, as classified by school size, as a whole, significant differences were found at the statistical level of .05; except only in the aspect of assessment and evaluation as well as credit transfer that no significant difference was found. 3. Solution guidelines for academic administration of primary school teachers in Bankhai District under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 in all 6 aspects were as the following. In the aspect of curriculum and curriculum management, meetings for planning together with administrators, teachers, and school committee should be organized for school curriculum development. As for learning process development, learning activities should be focused on learner-center. Concerning assessment and evaluation as well as credit transfer, meetings for planning among administrators and teachers should be done to formulate practical rules and regulations for school. With regards to research for educational quality development, there should be systematic assessment and evaluation with written recorded copies and use the evaluation results for improvement of learning activities. Regarding development of media and educational innovation and technology, teachers should be encouraged to use instructional media created by themselves or use things around students themselves. Finally, in the aspect of school internal quality assurance, schedules for school internal quality assurance should be set up. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |