Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา เพื่อเป็นแนวทางในการลดการเกิดปัญหาภาวะการออกกลางของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,100 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20 ถึง .74 และ ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านข้อมูลส่วนตัว ของนิสิต ด้านสถานศึกษา และด้านครอบครัว 2. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูลส่วนตัว ด้านสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามชั้นปี โดยรวมและรายด้าน ด้านข้อมูลส่วนตัว และด้านสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามสาขาวิชาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ