DSpace Repository

การศึกษาภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author ระวีนันท์ ชูสินชินภัทร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:47Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:47Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6867
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา เพื่อเป็นแนวทางในการลดการเกิดปัญหาภาวะการออกกลางของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,100 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20 ถึง .74 และ ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านข้อมูลส่วนตัว ของนิสิต ด้านสถานศึกษา และด้านครอบครัว 2. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูลส่วนตัว ด้านสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามชั้นปี โดยรวมและรายด้าน ด้านข้อมูลส่วนตัว และด้านสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามสาขาวิชาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักศึกษา
dc.subject การออกกลางคัน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title การศึกษาภาวะการออกกลางคันของนิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternative A study dropout of student t fculty of informtics Burph university
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This survey research aimed at studying students’ university dropouts at The Faculty of Informatics, Burapha University as were as comparing the conditions concerning their dropout during the study as classified by their and majors. The results of this analysis were used to assist ways to reduce the number. The population dataset used in this research were 1,100 students in the number of the first to fourth year students who were studying at the faculty of informatics, Burapha University during the 2016 academic year. The sample was selected by the use of Stratified Random Sampling and Sample Random Sampling as suggested by Krejcie and Morgan(1970, pp. 607-610), The sample was 285 students. The item disoiminative power was between .20 and .74 and the reliability was at 0.93. Furthermore, statistical methods including Mean, Standard deviation, t-test, and One-way ANOVA were used and the distinguishing results were compared with Scheffe’s method pairwise. The Findings: 1. Students’ dropout conditions during their study was at a low level. The reasons for discontinuing their study were personal issues, place of education, and family respectively. 2. The comparison of anstudents’ dropout classified by gender showed no statistically significant difference both in general and each aspect only in the factors involved personal issues and place of education. However, in comparison with familyvariable,was statistically significant difference at 0.05 level. 3. The comparison ofstudents’ dropout classified by academic yearsreported statistically significally significant difference at 0.05 level. However, in comparison with family variable,This study reported no statistically significant difference. 4. The comparison of students’ dropout is classified by majors of students reported no statistically significant difference.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account