Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง ใน 3 ด้าน คือ ด้านความเชื่อถือ การยอมรับ และความศรัทธา ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง .26-.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) ค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) และทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ โดยกระบวนการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison procedures: MCP) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี โดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย คือ ด้านความศรัทธา ด้านความเชื่อถือ และด้านการยอมรับ 2. ผลการเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง จำแนกตามระดับชั้นของ นักเรียนในความปกครอง และอาชีพของผู้ปกครอง พบว่า จำแนกตามระดับชั้นของนักเรียนในความปกครอง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความเชื่อถือ และด้านการยอมรับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ