DSpace Repository

ภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author สิรภัทร อยู่ปุย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:41Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:41Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6841
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง ใน 3 ด้าน คือ ด้านความเชื่อถือ การยอมรับ และความศรัทธา ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง .26-.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) ค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) และทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ โดยกระบวนการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison procedures: MCP) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี โดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย คือ ด้านความศรัทธา ด้านความเชื่อถือ และด้านการยอมรับ 2. ผลการเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง จำแนกตามระดับชั้นของ นักเรียนในความปกครอง และอาชีพของผู้ปกครอง พบว่า จำแนกตามระดับชั้นของนักเรียนในความปกครอง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความเชื่อถือ และด้านการยอมรับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาพลักษณ์
dc.subject โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ภาพลักษณ์ของโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternative The imge of expnsion schools in Srirch School Cluster 5 under the Chonburi Primry Eductionl Service Are Office 3
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study and compare parents’ perception on the image of expansion schools in Sriracha school cluster 5 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in 3 aspects : trust, acceptance and faith. The population were the parents of expansion schools in Sriracha school cluster 5 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The sample were consisted of 234 parents of students of expansion schools in Sriracha school cluster 5 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year of 2016. The number of sample were identified as suggested in the sampling table of Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610). A five-rating scale questionnaire was used in this study. The reliability of the questionnaire was at .89 and the item discrimination power of questionnaire was at .26-.83. Data was analyzed by using percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and multiple comparison procedures. The findings were as follows: 1. Parents’ perception on the image of expansion schools in Sriracha school cluster 5 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in general and all aspects were at a good level, listed from the highest to the lowest value were faith, trust and acceptance. 2. The comparison results of the parents’ perception on the image of the Expansion School in Sriracha group 5, Chonburi Primary Educational Service Area 3 were not significantly different when classified by the grade of the students both in overall and individual. There was statistically significant different at .05 level of opinion of parents having different Parents’ jobs overall and individual and there was no significant in faith and acceptance.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account