Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินงานและแนวทางพัฒนาการดําเนินงานระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยจําแนกตามระดับชั้นที่ปรึกษาขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทํางานของครูที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating sacale) มี 5 ระดับ จํานวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง .24-.75 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .90 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปรึกษาของโรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จํานวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1. การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ โรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จําแนกตามระดับชั้นที่ปรึกษา และประสบการณ์การทํางานของครูที่ปรึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 3. การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 ยกเว้น ด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 4. แนวทางการพัฒนาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอําเภอพานทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลครูที่ปรึกษา ควรเยี่ยมบ้านนักเรียนครบทุกคนด้านการคัดกรองนักเรียน ควรแยกนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ควรจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้กับผู้ปกครองในการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาควรจัดหาทุนการศึกษา เพื่อสนับสนุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีปัญหาด้านการส่งต่อนักเรียน ควรประสานงานกับชุมชน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาขั้นรุนแรง ตามลําดับ