Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลำบิด (สง่าอุทิศ) จำแนกตามระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามระดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านบทบาทครู ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านบริการและงานสัมพันธ์ชุมชน ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .22-.80 ค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลำบิด (สง่าอุทิศ) โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลำบิด (สง่าอุทิศ) จำแนกระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลำบิด (สง่าอุทิศ) จำแนกตามอาชีพ โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านมาบลำบิด (สง่าอุทิศ) จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านบทบาทครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01