Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในการรักษาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 151 คน ในคลินิกวัณโรคสถาบันโรคทรวงอกที่สุ่มเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ป่วยวัณโรคปอดทั้งหมด โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2560 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ผลการวิจัยพบว่า เพศชายมี การขาดการรักษาต่อเนื่องมากกว่าเพศหญิงผู้ป่วยสถานภาพโสดมีความเสี่ยงเสี่ยงต่อการขาดการ รักษาต่อเนื่อง 2.217 เท่า (90%CI of OR =1.099-4.471) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีสถานภาพคู่สำหรับ การประกอบอาชีพ ผู้ป่วยที่มีอาชีพรับจ้างจะลดโอกาสเสี่ยงต่อการขาดการรักษาต่อเนื่อง 66.70% เมื่อเทียบกับผู้ที่ประกอบอาชีพรับราชการ (OR =0.333: 90%CI of OR = 0.125-0.889) ผลการวิจัย สะท้อนว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์ในการรักษาวัณโรคในสังคมไทยมีโอกาสขาดการรักษาได้มากโดย พิจารณาจากปัจจัยในตัวผู้ป่วยวัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุเกือบทุกอาชีพที่กลับมารักษาวัณโรค ดังนั้นทุกคนควรสร้างทัศนคติที่ดีกับการรักษาวัณโรคในครั้งแรก ลดอคติ ลดการรังเกียจผู้ป่วยวัณโรค และกลับมาเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมในการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคปอดได้อย่างยั่งยืน