dc.contributor.advisor |
ภาคภูมิ พระประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
ยุวะธิดา กิ่งทอง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:12:17Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:12:17Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6622 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
ศึกษาผลของสารสกัดจากใบผักแครด (Syne drella nodiflora (L.) Gaertn.) ด้วยเอทานอล 95% ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของข้าว (Oryza sativa L.) และกวางตุ้ง (Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee) พบว่า สารสกัดจากใบผักแครดสามารถยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวและกวางตุ้งได้โดยการยับยั้งมากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดเพิ่มขึ้น และพบว่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดข้าวและกวางตุ้งได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) มีค่า 15.16 และ 2.96 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำ สารสกัดที่ IC50ไปหาค่า osmotic potential (ΨS) พบว่ามีค่าเท่ากับ -0.19 และ -0.08 MPa ตามลำดับ จากนั้นทำการศึกษาผลของ ΨS ของสารสกัดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของข้าวและกวางตุ้ง โดยเปรียบเทียบกับสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมไนเตรด ที่มีค่า ΨS เท่ากับสารสกัด พบว่าที่ ΨS ดังกล่าวของสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์และโพแทสเซียมไนเตรดไม่มีผลยับยั้งการงอกของข้าวและกวางตุ้ง ในขณะที่เมล็ดที่ได้รับสารสกัดมีการงอกและการเจริญเติบโตลดลง จึงสรุปได้ว่า ΨSของสารสกัดไม่มีผลต่อการยับยั้งการงอกของข้าวและกวางตุ้งเมื่อทดสอบการดูดน้ำของเมล็ด พบว่า สารสกัดไม่มีผลยับยั้งการดูดน้ำของเมล็ด และเมื่อนำเมล็ดข้าวและกวางตุ้งที่แช่ในสารสกัดเป็นเวลา 7 วัน มาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์แป้งและโปรตีนในเมล็ด พบว่า ในเมล็ดข้าวมีปริมาณน้ำตาลและโปรตีนต่ำกว่าชุดควบคุม ในขณะที่ปริมาณแป้งสูงกว่าชุดควบคุม ส่วนในเมล็ดกวางตุ้ง มีปริมาณน้ำตาลต่ำกว่าชุดควบคุม ปริมาณแป้งและโปรตีนสูงกว่าชุดควบคุม และจากการศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ α-amylase ในเมล็ดข้าวและกวางตุ้ง พบว่า เมล็ดข้าวที่ได้รับสารสกัดมีกิจกรรมต่ำกว่าชุดควบคุม ในขณะที่เมล็ดกวางตุ้งมีกิจกรรมไม่แตกต่างจากชุดควบคุม |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ข้าว -- เมล็ดพันธุ์ |
|
dc.subject |
กวางตุ้ง (พืช) |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา |
|
dc.title |
ผลของสารอัลลีโลพาธีจากใบผักแครด (Synedrella nodiflora (L.) Gaertn.) ต่อสรีรวิทยาการงอกของเมล็ดข้าว (Oryza sativa L.) และกวางตุ้ง (Brassica chinensis jusl var parachinensis (Bailey) tsen & lee) |
|
dc.title.alternative |
Effect of llelopthic from synedrell nodiflor (l.) gertn. on seed germintion physiology of oryzstiv l. nd brssic chinensis jusl vr prchinensis (biley) tsen & lee |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The effect of 95% ethanolic leaf-extract from Synedrella nodiflora (L.) Gaertn. on germination and growth of rice and pak-choiplants were examined. The results demonstrated the inhibition effect of extract to the germination of plants. The higher extract concentration showed the higher seed-germination inhibition. The inhibition concentration at 50% seed germination (IC50) was determined and IC50 were 15.16 and 2.96 mg/ml, respectively. The extract at the IC50 was used to determine the osmotic potential which were -0.19 and -0.08 MPa, respectively. After that the effect of osmotic potential on the germination and growth of plants was determined by comparing to the sucrose, sodium chloride and potassium nitrate at the same ΨS as the extract. The result showed that sucrose, sodium chloride and potassium nitrate did not inhibit seeds germination while the extract showed the inhibition effect. This revealed that the osmotic potential at -0.19 and -0.08 MPa did not effect on rice and pak-choi seed germination. Water absorption of seeds was also determined and showed that extract did not inhibit water absorption. The reducing sugar, starch and protein content in 7 days treated rice and pak-choi seeds were examined. Extract treated rice seeds showed lower reducing sugar and protein, higher starch than in control. Extract treated pak-choi seeds showed lower reducing sugar, higher starch and protein than in control. The activity of α-amylase in treated rice seeds showed lower activity than in control. Extract treated pak-choi seeds showed α-amylase activity non-significant difference in control. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ชีววิทยาศึกษา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|