Abstract:
ศึกษาความหลากหลายของทรอสโทไคตริดส์และอะพลาโนไคตริดส์ที่คัดแยกจากใบไม้ ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นบริเวณสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี ในเดือนตุลาคม 2559 (ฤดูฝน) และเดือนมีนาคม 2560 (ฤดูแล้ง) จากพันธุ์ไม้ป่าชายเลน 11 ชนิด พบ ทรอสโทไคตริดส์ (Thrautochytrids) ทั้งหมด 249 ไอโซเลท จำแนกได้ 3 ชนิดได้แก่ Aurantiochytrium mangrovei, Aurantiochytrium limacinum และ Aurantiochytrium sp. 1 โดย A. limacinum มีความถี่ของการพบ (Frequency of occurrence) สูงสุด โดยมีค่าอยู่ในช่วง 10-85 เปอร์เซ็นต์และอะพลาโนไคตริดส์ (Aplanochytrids) 1 ชนิด คือ Aplanochytrium sp. จำนวน 107 ไอโซเลท มีความถี่ของการพบ 5-65 เปอร์เซ็นต์โดยพบในเดือนมีนาคม 2560 (ฤดูแล้ง) มากกว่าเดือนตุลาคม 2559 (ฤดูฝน) เมื่อพิจารณาชนิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน พบว่า ใบโกงกางใบเล็กมีความถี่ของการพบทรอสโทไคตริดส์และอะพลาโนไคตริดส์สูงสุด เมื่อนำทรอสโทไคตริดส์ และอะพลาโนไคตริดส์มาเลี้ยงในอาหารเหลวกลูโคส :ยีสตส์ กดั (6 :1) เขย่าที่ความเร็ว 200 รอบ/ นาที ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 วัน พบว่า มีชีวมวลอยู่ในช่วง 8.12-21.37 กรัม/ลิตร ปริมาณกรดไขมันเออาร์เออยู่ในช่วง 0.18-0.51 มิลลิกรัม/กรัมน้ำ หนักแห้ง (0.04-0.12 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ดีพีเออยู่ในช่วง 1.81-47.62 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0.54-9.07 เปอร์เซ็นตข์องกรดไขมันทั้งหมด) และดีเอชเออยู่ในช่วง 6.81-193.49 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (2.04-38.35 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด)