dc.contributor.advisor |
อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ |
|
dc.contributor.author |
อามีนา ตำหิ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:12:13Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:12:13Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6605 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตฉนวนความร้อนจากเส้นใยใบเตยปะหนันและน้ำยางธรรมชาติ โดยศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงกล และสมบัติเชิงความร้อนของแผ่นฉนวนความร้อน ด้วยการเตรียมเส้นใยใบเตยปะหนัน ผ่านกระบวนการพ่นเคลือบประสานด้วยน้ำยางธรรมชาติ แล้วทําการขึ้นรูปเป็นแผ่นฉนวนความร้อนขนาดกว้าง 20.0 เซนติเมตร ยาว 20.0 เซนติเมตร และหนา 1.5 เซนติเมตร แล้วนํามาทดสอบสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงกลและสมบัติเชิงความร้อน พบว่าสมบัติเชิงกายภาพคือปริมาณความชื้นและการพองตัวตามความหนาลดลง เมื่อความหนาแน่นเพิ่มขึ้น สมบัติเชิงกลคือความต้านแรงดึง ความต้านแรงดัดและมอดูลัสยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เมื่อความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และผลทดสอบสมบัติเชิงความร้อนตามมาตรฐาน ASTM C 177 พบว่าแผ่นฉนวนความร้อนที่มีความหนาแน่นอยู่ในช่วง 139-227 kg/m3 ค่าการนําความร้อนของแผ่นฉนวนความร้อนอยู่ในช่วง 0.035-0.060 W/m.K สําหรับผลทดสอบการลามไฟ พบว่า แผ่นฉนวนความร้อนที่ผลิตจากเส้นใยใบเตยปะหนันและน้ำยางธรรมชาติแบบเติมสารหน่วงไฟมีค่าการลามไฟต่ำกว่าแบบไม่เติมสารหน่วงไฟ เมื่อนําไปเปรียบเทียบกับฉนวนความร้อนที่ผลิตเชิงพาณิชย์ โดยพิจารณาที่ความหนาแน่นเดียวกันจะมีค่าใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนําฉนวนความร้อนจากเส้นใยใบเตยปะหนันและน้ำยางธรรมชาติ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อทดแทนฉนวนความร้อนที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา |
|
dc.subject |
ฉนวนความร้อน |
|
dc.subject |
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
|
dc.title |
การผลิตฉนวนความร้อนจากเส้นใยใบเตยปะหนันและน้ำยางธรรมชาติ |
|
dc.title.alternative |
Therml insultion produced from pndnus lef fibers nd nturl rubber ltex |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the production of thermal insulation boards from Pandanus leaf fiber using natural rubber latex as a binder, as well as to study their physical, mechanical and thermal properties.Pandanus leaf fiber was sprayed withnatural rubber latex as a binder to form a squared thermal insulation board 20 long and wide, and 1.5 cm thick. The physical propertytest revealed the decrease of the Moisture content and the Swelling in water as the density increased. The mechanical property test revealed the increase of Tensile Strength, Flexural Strength and Flexural Modulus as the density increased. When measured in accordance with the American Society for Testing and Materials standard, the value of the thermal conductivity of the insulation board with a density of 139-227 kg/m3 was found to be 0.035-0.060 W/m.K. The test also revealed a lower valueof flammability inthe borax-filled insulation board than that in the non-borax-filledboard. The thermal conductivityresults, which were closed to the commercial insulator boards with the same density, indicated the development potential of Pandanus insulators from Pandanus fiber to replace the current commercial insulator with synthetic fiber. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ฟิสิกส์ศึกษา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|