DSpace Repository

ชนิดและปริมาณของเชื้อแบคทีเรียกับอาการแถบขาวในปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedaiea) วัยอ่อนในระบบเลี้ยง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
dc.contributor.advisor ปภาศิริบา
dc.contributor.author ภัทรจิต รักษาชล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:09:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:09:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6599
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การอนุบาลและเลี้ยงปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedalea) วัยอ่อนในโรงเรือน พบว่าบริเวณเนื้อเยื่อมีอาการแถบขาว White Band Syndrome (WBS) จึงจำแนกอาการแถบขาว ตามลักษณะการของหลุดลอกของเนื้อเยื่อปะการัง ได้เป็น 4 กลุ่ม คือโคโลนีที่ไม่แสดงอาการแถบขาว (0), แสดงอาการแถบขาวเล็กน้อย 10 -20% (+1), ปานกลาง >20 -60% (+2) และรุนแรง > 60% (+3) โดยตรวจสอบการปนเปื้อนของแบคทีเรียรวม แบคทีเรียวิบริโอรวม ทั้งจากน้ำในถังเลี้ยงปะการัง และเนื้อเยื่อปะการังทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนถ่ายน้ำ พบว่าปริมาณแบคทีเรียรวม แบคทีเรียวิบริโอ รวมทั้งจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่มีอาการแถบขาว และเนื้อเยื่อปะการังจะมีปริมาณแบคทีเรียมากขึ้นตามระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ซึ่งก่อนการเปลี่ยนถ่ายน้ำ พบปริมาณการสะสมของเชื้อแบคทีเรียวิบริโอรวมจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่ (0) มีค่าเฉลี่ย± SE ที่ 5.49± 1.1 CFU/ml โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่งผลให้เกิดอาการแถบขาวเล็กน้อยที่เนื้อเยื่อปะการัง (+1) และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวกับปริมาณเชื้อแบคทีเรียรวม และแบคทีเรียวิบริโอรวมในเนื้อเยื่อปะการังเพิ่มขึ้นตามระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวเมื่อจำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียพบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Vibriospp. โดยเชื้อวิบริโอชนิดเด่นคือ V. parahaemolyticus รองลงมาเป็นชนิด V. alginolyticus และหลังการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นเวลา 1 เดือน จึงสุ่มตัวอย่างพบว่าปริมาณแบคทีเรียลดลง 2 เท่า แต่อาการแถบขาวในปะการังยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากยังคงมีแบคทีเรียสะสมในเนื้อเยื่อปะการัง ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงปะการังคือการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมภายในถังเลี้ยงโดยทำความสะอาดถังเลี้ยง และเปลี่ยนถ่ายน้ำในทุก ๆ วันเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแถบขาวในปะการัง ซึ่งควรมีการทดลองเพื่อยืนยันสาเหตุของโรคจากเชื้อแบคทีเรียต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์
dc.subject แบคทีเรีย
dc.subject ปะการัง
dc.title ชนิดและปริมาณของเชื้อแบคทีเรียกับอาการแถบขาวในปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedaiea) วัยอ่อนในระบบเลี้ยง
dc.title.alternative Bcteri species nd density from cultured brin corl (pltygyr dedle) with white bnd syndrome
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Cultured immature coral (Platygyra daedalea) affected by White Band Syndrome (WBS) were classified based on area of coral surface infected by bacteria into four categories; (0), WBS absent; (+1), WBS present over 10 - 20% of coral surface; (+2), >20 - 60% and > 60%, (+3). Coral tissue and culture tank water was examined for bacterial infection by directed enumeration of total bacterial and total Vibriospp. before and after cleanliness culture tanks. Thus, virulence of total bacteria and of total Vibrio spp. was positively and significantly (p < 0.05) correlated with WBS. For culture tank water before cleanliness of bacteria density Vibrio spp. was 5.49 ± 1.10 (mean ± SE) for category (0), more there 3 time tocategory (+1), coral tissue appear WBS. Thus, virulence of total bacteria and of total Vibriospp. was positively and significantly correlated with WBS. Dominant bacteria were V. parahaemolyticus and V. alginolyticus. After changing the water for one month, samples were found to contain less bacteria (by 2 times). However, symptoms of white coral band did not recovered due to bacterial accumulation in the tissues of the coral. Results implied that bacteria accumulation in culture tank water may impose a stress to healthy coral and so, further study should be conducted to confirm bacterial etiology. Generally, basic principles of cleanliness should be applied routinely to all aspects of coral culture.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วาริชศาสตร์
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account