Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมโดยพิจารณา จากคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังใช้โปรแกรม ใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest and Posttest Control Group Design โปรแกรมเป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมแบบกลุ่มแลกเปลี่ยน ความคิด โดยใช้กระบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสะท้อนความคิด (Reflect) การเชื่อมโยง (Connect) และการประยุกต์ใช้ (Apply) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี. เทค) จังหวัดชลบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มแบบขั้นตอนเดียว แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมี วิจารณญาณ และแบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ในการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา 2. คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรม การฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนได้รับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรม การฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05